Page 28 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        18

                   1 ตันต่อไร่ ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงมาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า 4.0 ใส่ปูนอัตรา 1.5-2.0
                   ตันต่อไร่ หรือตามค่าความต้องการปูนของดินที่วิเคราะห์ได้
                          ประโยชน์ของวัสดุปูน คือ ลดความเป็นกรดจัดของดิน ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงขึ้นตาม

                   ปริมาณปูนที่ใส่มากขึ้น เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) และลดความ
                   เป็นพิษของอะลูมินั่ม เช่น ดินเปรี้ยวจัด ชุดดินรังสิต มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.4 หลังใส่ปูนมาร์ลอัตรา
                   1,426 กิโลกรัมต่อไร่ ความรุนแรงของกรดลดลง ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง สูงขึ้นเป็น 5.6 มีปริมาณ
                   อะลูมินัมลดลงเหลือ 0.5 มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน 100 กรัม จากเดิมมี 4.1 มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน 100 กรัม

                   ปริมาณเหล็กลดลงจาก 9.3 มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน 100 กรัม เป็น 6.4 มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน 100 กรัม ซึ่ง
                   เป็นช่วงที่ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงขึ้น


                   3.6 การเตรียมดินส าหรับการปลูกข้าว
                          ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี (2555) กล่าวว่า การท านาในเขตชลประทานของประเทศไทยส่วนใหญ่นั้น

                   สามารถท าการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมีน้ าอย่างเพียงพอ จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเร่งการท า
                   นาให้ได้จ านวนรอบต่อปีมากที่สุด การผลิตข้าวให้ได้คุณภาพดี ต้นทุนต่ า ควรมีการเตรียมดินโดยก่อนการ
                   เก็บเกี่ยว ปล่อยให้แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ าเสมอ สามารถเก็บเกี่ยวได้

                   สะดวก และท าความสะอาด อุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเก็บเกี่ยวข้าว ได้แก่ รถเกี่ยวข้าว กระสอบ
                   บรรจุข้าว และรถขนข้าว เพื่อป้องกันข้าวปน และให้มีการจัดการฟางที่เหมาะสม เนื่องจากฟางข้าว 1 ตัน
                   จะมีธาตุอาหารไนโตรเจนประมาณ 5.4 กิโลกรัม ธาตุฟอสฟอรัสประมาณ 1.1 กิโลกรัม และธาตุ
                   โพแทสเซียมประมาณ 14.5 กิโลกรัม ถ้าคิดราคาธาตุอาหารเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40 บาท (ค านวณจากราคา

                   ปุ๋ยยูเรียเท่ากับ 1,840 บาท 18-46-0 เท่ากับ 2,140 บาท และ 0-0-60 เท่ากับ 1,300 บาท ต่อตัน (ราคา
                   ณ เดือน มีนาคม 2551) ดังนั้นการเผาฟาง 1 ตัน เท่ากับเผาเงินทิ้ง 840 บาท ยังไม่รวมการเสียคุณค่าใน
                   ด้านของการปรับปรุงบ ารุงสมบัติของดินและธาตุอาหารอื่นๆที่มีอยู่ในฟาง เช่น Zn S Si Mg Ca Fe Mn
                   Cu และ B ในปริมาณ 0.03 0.8 65 2.0 3.50.45 0.003 และ 0.01 กิโลกรัม ตามล าดับ

                          ขั้นตอนการจัดการฟางที่เหมาะสม ให้ท าในขณะที่แปลงยังพอมีความชื้น แล้วใช้รถแทรกเตอร์
                   ไถกลบฟางทันที โดยใช้เทคนิคให้ไถขวางแนวฟางจะท าให้ไถได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นปล่อยให้แห้งอีก
                   2 สัปดาห์ เพื่อให้ตอซังและฟางแห้ง ส่วนแปลงที่มีความชื้นไม่พอ จะปล่อยให้แห้งต่อไปอีก 2 สัปดาห์
                   เพื่อให้ตอซังและฟางข้าวแห้งมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดลูกข้าวจนออกรวงมาเป็นข้าวปนในฤดูต่อไป โดยการ

                   เอาน้ าเข้าแปลงให้ฟางเปียกชุ่มแล้วระบายน้ าออกไม่ให้มีน้ าขัง ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หรือถ้าพอมีเวลาให้ทิ้งไว้
                   ในสภาพชื้นจนกว่าเมล็ดข้าวเรื้อ เมล็ดวัชพืชงอก จึงด าเนินการขั้นต่อไป กรณีฟางน้อยกว่า 1,200
                   กิโลกรัมต่อไร่ (ดูจากผลผลิตได้น้อยกว่า 80 ถังต่อไร่) ให้ใช้รถไถเดินตาม แล้วไถกลบฟาง ส่วนกรณีฟาง

                   มากกว่า 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ (ดูจากผลผลิตมากกว่า 80 ถังต่อไร่) ให้ใช้รถแทรกเตอร์ติดโรตารี่ ปั่นฟาง
                   หรือย่ าฟางด้วยรถไถยนต์ให้แบนราบกับพื้นดิน หมักไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ หากจะย่นระยะเวลาการหมัก
                   ฟางให้สั้นลง ให้ใช้น้ าหมักชีวภาพ พด. 2 อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ พร้อมกับกากน้ าตาล 5 กิโลกรัมต่อไร่ ผสม
                   กับน้ า 200 ลิตร แล้วปล่อยน้ าลงในแปลงพอท่วมเพื่อให้ตอซังข้าวที่นุ่มดีแล้วเกิดการย่อยสลาย หว่านปุ๋ย
                   ยูเรียเพิ่มอีก 5 กิโลกรัมต่อไร่ และรักษาระดับน้ าไว้อย่าให้แปลงแห้ง ปล่อยหมักฟางทิ้งไว้ 15 วัน จึง

                   ไถกลบ หรือใช้โรตารี่ติดรถไถปั้นฟาง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33