Page 26 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
ภาคเหนือ และภาคกลาง มีจ านวนฟางข้าวและตอซังรวม 11.94 และ 10.34 ล้านตันต่อปี ส่วนภาคใต้มี
จ านวนฟางข้าวและตอซังน้อยที่สุด คือ 2.09 ล้านตัน (ตารางที่ 3) ซึ่งหากตอซังและฟางข้าวจ านวน
47.62 ล้านตันถูกเผาหมด จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองปริมาณ 95,240-666,680 ตัน หรือเฉลี่ย 380,960
ตัน (การเผา 1 ตัน จะท าให้เกิดฝุ่นละออง 2-14 กิโลกรัม)
ในตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าหากเหลือตอซังและฟางข้าวไว้ในนาข้าวทั้งหมดจ านวน 47.62 ล้าน
ตัน จะได้ไนโตรเจน 328,578 ตัน ฟอสฟอรัส 38,096 ตัน มีโพแทสเซียม 742,872 ตัน รวมธาตุอาหารพืช
1,109,546 ตัน คิดเป็นมูลค่า 13,117 ล้านบาท (ราคาน าเข้าปุ๋ยยูเรีย ปี 2553 เฉลี่ยตันละ 11,822 บาท)
หรือเท่ากับการเผาตอซังและฟางข้าวในพื้นที่นา 1 ไร่ สูญเสียธาตุอาหารพืชไร่ละ 15.25 กิโลกรัม คิดเป็น
มูลค่า 180.29 บาท ดังนั้นการไถกลบตอซังและฟางข้าวลงไปในนา จึงเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุกลับลงไป
ในดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการคืนธาตุอาหารกลับสู่ดินด้วย
ตารางที่ 3 ประมาณการปริมาณตอซังและฟางข้าวในแต่ละภาคของประเทศไทย ปี 2553
พื้นที่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ฟาง ธาตุอาหารพืช
ภาค ปลูก (ล้านตัน) (ล้านตัน) ตอซัง ข้าว รวม (ตัน)
ข้าว ตอ ฟาง ตอ ฟาง (ล้านตัน) (ล้านตัน) (ล้านตัน) N P K
(ล้านไร่) ซัง ข้าว ซัง ข้าว
เหนือ 18.37 3.29 4.93 1.49 2.23 4.78 7.16 11.94 82,386 9,552 186,264
อีสาน 35.76 8.51 12.77 0.79 1.18 9.30 13.95 23.25 164,425 18,600 362,700
กลาง 15.92 2.54 3.81 1.60 2.39 4.14 6.20 10.34 71,346 8,272 161,304
ใต้ 2.22 0.49 1.38 0.09 0.13 0.58 1.51 2.09 14,421 1,672 32,604
รวมทั้ง 72.62 14.83 22.89 3.97 5.93 18.8 28.82 47.62 328,578 38,096 742,872
ประเทศ
ที่มา : ส านักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (2550)
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร (2549) รายงานว่า ในตอซังและฟางข้าว จ านวน 1 ตัน จะมี
ปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชได้แก่ ไนโตรเจน 6.9 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 58.50 บาทต่อไร่ ฟอสฟอรัส
0.8 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 8.80 บาทต่อไร่ และโพแทสเซียม 15.6 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 117 บาทต่อไร่
3.5 การจัดการพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
นงคราญ (2559) กล่าวถึง ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดก ามะถัน หมายถึงดินที่มีสารประกอบไพไรต์
เป็นองค์ประกอบ เมื่อผ่านกระบวนการออกซิเดชัน ท าให้เกิดกรดก ามะถันในชั้นดิน และฤทธิ์ของความ
เป็นกรดรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช ดินชนิดนี้มักพบจาโรไซต์ ลักษณะสีเหลืองฟางข้าวที่
ชั้นใดชั้นหนึ่งในหน้าตัดดิน เกิดในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลที่มีหรือเคยมีน้ าทะเลหรือมีน้ ากร่อยท่วมถึง
ในอดีต
ลักษณะดินเปรี้ยวจัด มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด พบสารสีเหลืองฟางข้าวหรือตะกอนน้ าทะเลที่มี
องค์ประกอบของสารก ามะถันภายในความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดิน สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ลุ่ม
ต่ า น้ าท่วมขัง มีต้นกกหรือกระถินทุ่งขึ้นอยู่ทั่วไป คุณภาพน้ าในบริเวณดังกล่าวใสมาก และเป็นกรดจัด