Page 25 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        15

                          พิสิฐ (2549) รายงานว่า การเผาตอซังและฟางข้าว มีผลกระทบอย่างมากต่อการท าลาย
                   โครงสร้างดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เพราะความร้อนก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร
                   ดิน ดังนี้

                              1) ท าให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป เนื้อดินจับตัวแน่นและแข็ง ท าให้รากพืชแคระแกร็น
                   ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ ความสามารถในการหาอาหารของรากพืชลดลง รวมถึงมีผลท าให้เชื้อโรคพืชสามารถ
                   เข้าท าลายได้ง่าย
                              2) สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คือเมื่ออินทรียวัตถุในดินถูกเผา จะกลายเป็น

                   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดการสูญหายไปในชั้นบรรยากาศ และธาตุอาหารจะเปลี่ยนสภาพให้อยู่ในรูปที่
                   สามารถสูญเสียไปจากดินได้โดยง่าย
                              3) ท าลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน ท าให้ปริมาณ และกิจกรรมของจุลินทรีย์

                   ในดินลดลง รวมถึงตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ า ตัวเบียน ที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืช รวมทั้ง
                   จุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชก็จะถูกท าลายจากการเผาไปด้วย
                              4) สูญเสียน้ าในดิน การเผาตอซังพืชท าให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส น้ าในดิน
                   จะระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว ท าให้ความชื้นของดินลดลง ท าให้ดินแห้งแข็งเพิ่มมากขึ้น
                              5) ท าให้เกิดฝุ่นละออง เถ้าเขม่า และก๊าซหลายชนิด ที่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นอันตรายต่อ

                   สุขภาพ และบดบังทัศนวิสัยการคมนาคม
                          พงษ์พันธ์ (2549) รายงานว่า สาเหตุที่เกษตรกรทั่วไปนิยมเผาตอซัง คือ เป็นการท าลายโรคและ
                   แมลงที่อาศัยอยู่ในฟางข้าว ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันก าจัดโรค

                   แมลงและเป็นการท าลายแหล่งซุกซ่อนของหนูอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากหาก
                   จัดการในรูปแบบอื่นต้องมีการใช้แรงงานและลงทุนสูง และในพื้นที่ที่มีการจัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียน
                   เมื่อมีการไถกลบหลังการเก็บเกี่ยวแล้วปลูกพืชต่อจะมีผลต่อการแปรสภาพของธาตุอาหารพืช เช่น
                   กระบวนการ immobilization  ซึ่งกระบวนการนี้ธาตุอาหารพืชในรูปอนินทรีย์จะถูกแปรสภาพเป็นรูป

                   สารอินทรีย์ เช่น ในกรณีของธาตุไนโตรเจน เมื่ออนินทรีย์ไนโตรเจนถูกแปรสภาพเป็นอินทรีย์ไนโตรเจน
                   ท าให้ธาตุไนโตรเจนอยู่รูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช พืชเกิดการขาดธาตุไนโตรเจน
                          ในทางกลับกัน การเผาฟางข้าวมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ท าให้เกิดปัญหามลภาวะและส่งผล

                   กระทบต่อการจราจร ด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินการเผาตอซังและฟางข้าวจะท าให้เกิดการสูญเสีย
                   ไนโตรเจนร้อยละ 93 ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม สูญเสียร้อยละ 20 โดยทั่วไปผลผลิตของข้าว 5 ตัน ต้อง
                   ใช้ปริมาณธาตุอาหารจากดินส าหรับการเจริญเติบโต ดังนี้ ไนโตรเจน 150 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส20 กิโลกรัม
                   โพแทสเซียม 150 กิโลกรัมและก ามะถัน 20 กิโลกรัม ธาตุอาหารพืช เหล่านี้จะสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของ
                   ต้นข้าว แต่ปริมาณธาตุอาหารในตอซังข้าวและฟางข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวในแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน

                   ออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ปุ๋ยที่ใส่ คุณภาพของน้ าชลประทาน พันธุ์ข้าวและฤดูกาล ดังนั้นการ
                   เผาตอซังและฟางข้าวจึงนับว่าเป็นการสูญเสียอย่างมาก


                   3.4 สถานการณ์ตอซังและฟางข้าว
                          รัชนี (2554) พบว่า ถ้าน าสัดส่วนตอซังและฟางข้าวของส านักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 มาค านวณ

                   จากพื้นที่ปลูกข้าว ในปี 2553 พบว่า พื้นที่นาข้าว 72.62 ล้านไร่ จะมีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 28.82
                   ล้านตัน และมีตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 18.88 ล้านตัน รวม 47.62 ล้านตัน โดยในภาค
                   ตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุด คือจ านวน 23.25 ล้านตัน รองลงมาคือ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30