Page 24 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        14

                   90 วัน มีผลต่อการเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสในดินอย่างเด่นชัด เมื่อเปรียบเทียบการไม่ใส่วัสดุอินทรีย์ โดย
                   เพิ่มขึ้นจาก 9.1 เป็น 14.5  16.4  และ 16.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามล าดับ และปริมาณโพแทสเซียม
                   เพิ่มขึ้นจาก 95.5 เป็น 205.5 193.0 และ 161.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ส่วนในดินชุดร้อยเอ็ดมี

                   ผลต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดินเช่นกัน โดยท าให้ปริมาณฟอสฟอรัสในดินเพิ่มขึ้น จาก 2.5 เป็น 5.5 5.4
                   และ 4.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามล าดับ และปริมาณโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นจาก 69.5 เป็น 217.8 188.1
                   และ 220 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามล าดับ อีกทั้งยังช่วยลดความเป็นพิษของเหล็ก และแมงกานีสในดิน
                   เนื่องจากธาตุอาหารดังกล่าวนี้จะละลายออกมามากในดินที่สภาพดินกรด หรือดินเปรี้ยว ซึ่งท าให้ธาตุ

                   อาหารพืชถูกตรึงไว้ในดินและช่วยลดความเป็นพิษของดินเค็ม โดยตอซังช่วยในการอุ้มน้ าในดิน ท าให้ดินมี
                   ความชุ่มชื้น ส่งผลให้เกลือใต้ดิน ไม่สามารถขึ้นมาได้ นอกจากนี้ ยังเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน
                   อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน มีผลท าให้ปริมาณและกิจกรรมของ

                   จุลินทรีย์เพิ่มขึ้น และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์และสัตว์เล็กๆในดิน และช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุ
                   โรคพืชบางชนิดในดินน้อยลงเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดและด่างของดินเนื่องจาก
                   อินทรียวัตถุจากวัสดุเศษพืชที่ใช้ในการไถกลบมีคุณสมบัติในการเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความ
                   เป็นกรดและด่างของดิน (buffer  capacity) ซึ่งจะท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อยู่ในระดับที่
                   เพิ่มขึ้นหรือเป็นกลางจากการไถกลบฟางข้าวในอัตรา 1 ตันต่อไร่ ก่อนปลูกข้าวเป็นเวลาหนึ่งเดือนในดิน

                   ชุดเรณูและร้อยเอ็ด เปรียบเทียบการไม่ไถกลบและเผาฟางข้าว พบว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว มี
                   ผลท าให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพิ่มขึ้นจาก 5.6 และ 6.0 เป็น 6.2 และ 6.7 ตามล าดับและเพิ่ม
                   ผลผลิตให้กับพืชเพาะปลูก จากรายงานการน าฟางข้าวไถกลบลงไปในดินติดต่อกันเป็นระยะยาว มีผลต่อ

                   การเพิ่มศักยภาพของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชที่เพาะปลูก จากการเผาฟางให้ผลผลิตเฉลี่ย 544 กิโลกรัม
                   ต่อไร่ แต่การไถกลบตอซังจะให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 656 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนั้นปรัชญาและคณะ
                   (2534) ศึกษาพบว่า การไถกลบตอซังอัตรา 1 ตันต่อไร่ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินนาชุดดินเรณูและ
                   ร้อยเอ็ด จะให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจาก 439.3 และ 370.7 เป็น 502.8 และ 436.8 กิโลกรัมต่อไร่ตามล าดับ

                   ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 13 เปอร์เซ็นต์ และยังท าให้น้ าหนักแห้งของฟางข้าวเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์
                          กรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้รายงานว่า วัสดุตอซังแต่ละชนิดมีธาตุอาหารพืชอยู่ในปริมาณที่
                   แตกต่างกัน การไถกลบตอซัง จึงมีผลต่อการเพิ่มศักยภาพของดิน เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณธาตุ

                   อาหารลงในดิน ส่งผลให้ผลผลิตของพืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลท าให้การเจริญเติบโต จ านวนรวง
                   ต่อต้นเพิ่มขึ้น และจ านวนเมล็ดต่อรวงเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าการไถกลบมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของ
                   ปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว ผลของการไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวจะแสดงผล
                   ชัดเจนในปีที่สองของฤดูท านาโดยท าให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 2)


                   ตารางที่ 2 ปริมาณธาตุอาหารพืชในวัสดุตอซังแต่ละชนิด

                                                        ธาตุอาหาร (ร้อยละ)
                        ชนิดวัสดุตอซัง                                                      C/N ratio
                                              ไนโตรเจน      ฟอสฟอรัส      โพแทสเซียม
                   ตอซังข้าว                    0.55          0.09           2.39              89

                   ตอซังข้าวโพด                 0.53          0.15           2.21              62
                   เศษใบอ้อย                    0.49          0.21           0.58              55
                   ตอซังพืชตระกูลถั่ว           2.42          0.61           2.94              29


                 ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2545)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29