Page 17 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         8







                       แบบมีส่วนร่วมที่มีหลักการเดียวกัน ภายใต้การใช้ตราสัญลักษณ์เดียวกัน เงื่อนไขการใช้ตราสัญลักษณ์ อายุ
                       การรับรอง 12 เดือน นับจากวันที่ได้รับการรับรองจากกลุ่ม การต่ออายุการรับรองใหม่นับจากวันที่ตัดสินจาก
                       กลุ่ม หรือการยอมรับจากเครือข่าย การติดตราสัญลักษณ์บนผลิตผล/ผลิตภัณฑ์ ต้องมีหมายเลขสมาชิก/
                       กลุ่ม/เครือข่าย ที่มีการจัดการผลผลิต การแปรรูป การบรรจุหีบห่อภายในกลุ่มเท่านั้น ในกรณีที่ขายผลผลิต

                       ให้กับผู้ประกอบการนอกพื้นที่ กลุ่มต้องสามารถควบคุม ตรวจประเมินการปนเปื้อน และการปะปนกับ
                       ผลผลิตปกติได้ตราสัญลักษณ์ติดได้เฉพาะ ชนิดและปริมาณผลผลิตที่ได้รับการรับรองเท่านั้น

                              4. หลักการของ พี จี เอส
                                 พี จี เอส เป็นการรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์โดยชุมชน ที่เหมาะสมกับสภาพ
                       ภูมิสังคมวิถีชีวิต วัฒนธรรมและการเกษตรของท้องถิ่น ซึ่งวิธีการรับรองผู้ผลิตมีหลากหลายวิธีปฏิบัติ

                       ไม่มีสูตรส าเร็จ แต่กลุ่ม พี จี เอส ต้องด าเนินการภายใต้หลักการเดียวกันคือ หลักการ PGS  IFOAM
                       ที่นานาประเทศยอมรับ (ภาพที่ 1) ดังนี้ (มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, 2560)
                                     4.1  การมีส่วนร่วม  บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเจ้าของ
                       โครงการร่วมกัน สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มวางแผน ตัดสินใจร่วมกันในการด าเนิน

                       กิจกรรม ก าหนดกฎระเบียบต่างๆ เช่น ก าหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม ก าหนดบทลงโทษ
                       ก าหนดกระบวนการตรวจเยี่ยมเพื่อน ก าหนดการประชุมโดยผู้ผลิตต้องเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                       กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การฝึกอบรม การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ และการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ใน
                       ระยะแรกการตั้งกลุ่มผู้บริโภคอาจยังไม่ได้ร่วมกระบวนการก็ได้

                                     4.2  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นจุดแข็งของกระบวนการ เช่น การจัดให้มีการ
                       ประชุมกลุ่มประจ าเดือน เพื่อให้มีเวทีรวบรวมข้อคิดเห็น แนวคิด เปูาหมายการท าเกษตรอินทรีย์ของ
                       ผู้ผลิต ก าหนดกรอบมาตรฐานและแนวทางพัฒนาไปสู่เกษตรอินทรีย์ จากเวทีท าให้ทราบว่าผู้ผลิต

                       จะต้องพัฒนาเรื่องอะไรบ้าง อย่างไร และสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจการผลิตไปพร้อมๆกัน ซึ่งสามารถ
                       ก าหนดเป็นวิสัยทัศน์ของโครงการได้ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาการผลิตระหว่างสมาชิก


























                              ภาพที่ 1 หลักการและองค์ประกอบของ พี จี เอส  (มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, 2560)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22