Page 15 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6







                       ของสหภาพยุโรป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าสหภาพยุโรปได้โดยตรง
                       ในส่วนของ ASEAN  ประเทศไทยได้เข้าร่วมก าหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน (ASEAN
                       Standard on Organic Agriculture, ASOA) และขณะนี้อยู่ระหว่างการเทียบเคียงมาตรฐานไทยกับ
                       มาตรฐานอาเซียน รวมทั้งจัดท าระบบยอมรับซึ่งกันและกัน (อนุรักษ์, 2560)

                                      อย่างไรก็ตามการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สามารถจ าแนกได้ใน 2 แนวทาง คือ
                       แนวทางที่ 1) ตามความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการผลิต ซึ่งต้องมีผู้ให้
                       การรับรองระบบการผลิต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 50 ปี เรียกว่า “หน่วยตรวจรับรองบุคคลที่
                       สาม”  การกล่าวอ้างหรือติดฉลากสินค้าเป็นเกษตรอินทรีย์นั้นจะต้องปฏิบัติตามหลักการเกษตร

                       อินทรีย์ หรือมีมาตรฐานเป็นกรอบในการปฏิบัติ จึงท าให้สินค้าเกษตรอินทรีย์สามารถค้าขายได้ทั่วโลก
                       แนวทางที่ 2) ตามการขับเคลื่อนจากเกษตรกรผู้ผลิตเองที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม
                       ความมั่นคงทางอาหาร เช่น แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ท าเพื่อครอบครัวและเหลือขายบริเวณ
                       ใกล้เคียงโดยไม่จ าเป็นที่ต้องขอการรับรองทุกกรณี ตามที่ FAO  เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ไม่ขอรับรอง

                       และระบบการรับรองระบบใหม่ที่เรียกว่าการรับรองแบบมีส่วนร่วม พี จี เอส (FAO/WHO  Codex
                       Alimentaries Commission, 2007)
                                    มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย (2560) ได้กล่าวว่าปัจจุบันมีระบบการขอรับรองเกษตรอินทรีย์

                       ได้ 2  ระบบ ได้แก่ 1)  ระบบการรับรองโดยบุคคลที่สาม หรือหน่วยตรวจรับรอง (Third  party
                       Certification  Body  ;  CB)  และ 2)  ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory  Guarantee
                       Systems, PGS)
                                       ระบบการตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง ได้ถูกพัฒนามามากกว่า 50 ปี มาแล้ว ท า
                       ให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ขายไปได้ทั่วโลก  แต่ระบบนี้มุ่งรับรองรายสินค้า ไม่ได้เป็นค าตอบของเกษตร

                       อินทรีย์ทุกระบบ  เพราะมุ่งเน้นขายให้ตลาดที่ไกลจากผู้ผลิต  หรือเป็นการส่งออก   ระบบรับรอง
                       มีค่าใช้จ่ายสูง มีระบบที่ซับซ้อน ให้ความส าคัญกับการบันทึกและมีเอกสารมากมาย  จึงเป็นข้อจ ากัด
                       ส าหรับเกษตรกรรายย่อยที่ท าเกษตรอินทรีย์แบบพื้นบ้าน  ซึ่งมีผลผลิตหลากหลายชนิดในปริมาณ

                       ไม่มาก เป็นการท าเกษตรอินทรีย์ด้วยจิตวิญญานและเป็นวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
                       ท าให้เกษตรกรเหล่านี้ตกจากการส ารวจหรือไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ บางรายล้มเลิกไป
                                      การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory   Guarantee
                       Systems ; PGS) หรือ พี จี เอส  หมายถึงระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยชุมชนตามหลักการและ

                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ
                       ชุมชน ภายใต้การสร้างพื้นฐาน ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การเป็นเครือข่ายทางสังคม และการ
                       แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (IFOAM, 2014; 2015) ในทางปฏิบัติการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วมเกิดมานาน
                       แล้วอย่างไม่เป็นทางการประมาณปีพ.ศ.2513  (ค.ศ.1970)  หรือประมาณ  40  ปีเศษ พี จี เอส

                       มีจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการจากที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ“The First International Workshop on
                       Alternative  Certification”  เมื่อปีพ.ศ.2547  (ค.ศ.2004)  ที่เมือง  Torres  ประเทศบราซิลจัดโดย
                       สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM)  ร่วมกับ  MAELA  (The  Latin  American
                       AgroecologyMovement)    ที่ประชุมมีมติให้มีการแต่งตั้งคณะท างาน (take  force)  เพื่อจัดท า

                       รายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและแนวทางปฏิบัติส าหรับพีจีเอสเพื่อให้เป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20