Page 22 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       13







                       สถานการณ์จริงจะไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ อีก แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าเครื่องมือยังมีข้อบกพร่อง
                       ผู้วิจัยจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้เครื่องมือดังกล่าวมีประสิทธิภาพดีที่สุด เนื่องจากหากเครื่องมือการวิจัย
                       ไม่ดีพอจะท าให้ประสิทธิภาพของงานวิจัยก็ลดน้อยลงไปด้วย (บุญธรรม, 2542)
                                  ความเที่ยงตรง คือ การวัดได้ตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการที่จะวัดนี้ คือ วัดได้ตรงกับ

                       วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ก าหนดไว้ซึ่งแบ่งความเที่ยงตรงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (บุญธรรม, 2542)
                                     7.1  ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

                                     7.2  ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
                                     7.3  ความเที่ยงตรงตามสถานะหรือความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ (Criterion  –
                       related Validity)

                                     7.4  ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive Validity)
                                   ความเที่ยงตรงแต่ละประเภทสามารถที่จะอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้ (บุญธรรม, 2542)

                                         7.1  ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เป็นการทดสอบว่าเครื่องมือที่
                       จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวัดพฤติกรรมได้ตรงกับเนื้อหาที่ต้องการจะวัดหรือไม่และต้องพิจารณา

                       ความครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการจะวัดด้วย เช่น ครูต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทางภาษาไทย
                       เครื่องมือที่จะวัดต้องออกแบบให้ครอบคลุมลักษณะของพฤติกรรมที่ต้องการวัด วิธีการในการ

                       ตรวจสอบความเที่ยงตรงสามารถจะกระท าได้ 2 วิธี ดังนี้
                                                  7.1.1 ผู้วิจัยสามารถตรวจสอบด้วยตนเองโดยการน าไปเปรียบเทียบกับ
                       วัตถุประสงค์การวิจัยในกรณีของการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของข้อสอบสามารถน าไปเปรียบเทียบ

                       กับตารางวิเคราะห์ข้อสอบหรือ Table of Specification  of  Test ได้
                                                  7.1.2  การตรวจสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจ โดยปกติจะใช้ผู้เชี่ยวชาญ

                       3 คน   หรือมากกว่า 3 คน อาจเป็น 5 คน 7 คน แต่จะต้องใช้จ านวนผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเลขคี่ วิธีการ
                       ให้คะแนน คือ


                                                      ให้  1   ถ้าแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้ตรงตามเนื้อหาจริง

                                                      ให้  0   ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามเนื้อหาจริง
                                                   ให้   -1   ถ้าแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดไม่ตรงตามเนื้อหาจริง
                                    จากนั้นจึงน าคะแนนของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดค านวณหาค่า IOC จากสูตร

                                                           IOC  =        ΣR

                                                                          N
                                            เมื่อ IOC      แทน  ดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบกับ
                                                                  วัตถุประสงค์ ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย

                                                    ΣR     แทน  ผลรวมของคะแนน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27