Page 18 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         9







                                     4.3  ความโปร่งใส หมายถึง กลุ่มต้องก าหนดระบบการรับประกันการผลิต ซึ่ง
                       จะต้องวางร่วมกัน เช่น การมีเอกสารที่ชัดเจน ได้แก่ มาตรฐานข้อก าหนดการผลิต ระบบการตรวจ
                       ประเมินภายใน บทลงโทษ  หากไม่ปฏิบัติตาม รายชื่อ ที่อยู่สมาชิกผู้ผลิต และคนละเอียดการปฏิบัติ
                       ในฟาร์มของสมาชิก    แต่ละคน หรืออาจท าเป็นแบบสอบถาม หรือการน าข้อมูลผู้ได้รับการรับรอง

                       จัดท าเป็นฐานข้อมูลในเว็บไซต์ส่วนกลาง หรือสามารถเข้าถึงผ่าน SMS  หรือผ่าน application  ใน
                       โทรศัพท์มือถือ (Smartphone)   หากเป็นกลุ่มระดับฐานรากอาจใช้กระบวนการจัดเวทีให้สมาชิกมา
                       น าเสนอวิธีการปฏิบัติเทียบเคียงกับมาตรฐานและการตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น
                                     4.4  ความไว้วางใจ เป็นกระบวนการที่ท าตั้งแต่ ข้อ 1-3 เพื่อเป็นกระบวนการที่

                       มั่นใจว่าผู้ผลิตแต่ละคนปกปูองธรรมชาติ และสุขภาพของผู้บริโภคด้วยการผลิตตามหลักการเกษตร
                       อินทรีย์ ซึ่งความไว้วางใจและเชื่อมั่น (trust)  สร้างขึ้นได้โดยมีกระบวนการที่โปร่งใส  ให้ผู้บริโภค
                       สามารถตรวจสอบเข้าถึงสมาชิกผู้ผลิตได้ทุกคน  เช่นการจัดกิจกรรม ก าหนดให้มีวันเยี่ยมผู้ผลิต  หรือ
                       การน าข้อมูลผู้ผลิตเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ หรือการกล่าวค าปฏิญญาร่วมกัน เป็นต้น

                                     4.5  ความสัมพันธ์แบบแนวราบ โครงสร้างกลุ่มเป็นแนวราบเป็นองค์กรของชุมชน
                       ในท้องถิ่นใช้ระบบประชาธิปไตย ด้วยการแลกเปลี่ยน หมุนเวียน ความรับผิดชอบ ยินยอมให้คณะ
                       ตรวจสอบตรวจฟาร์มและยอมรับการตัดสินของคณะกรรมการกลุ่ม

                                     4.6  กระบวนการเรียนรู้ รูปแบบขั้นตอนการรับรอง และการตรวจเยี่ยมเพื่อน เป็น
                       การประเมินในลักษณะเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในมาตรฐาน ทวนสอบวิธี
                       ปฏิบัติในฟาร์ม และให้ค าแนะน า เสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีของเกษตร
                       อินทรีย์
                                     4.7  การด าเนินงานในรูปเครือข่าย การขับเคลื่อนระบบนี้อยู่ภายใต้การด าเนินงาน

                       ของเครือข่ายที่หลากหลาย การท าให้ระบบมีความโปร่งใส และเข้าถึงได้ทั้งจากผู้ประกอบการและ
                       ผู้บริโภคนั้น องค์กรจัดท าระบบต้องพัฒนากลุ่ม และเชื่อมโยงเครือข่าย ให้มีกิจกรรมร่วมกัน และ
                       สามารถท าฐานข้อมูลสมาชิกทั้งหมดรวมทั้งกระบวนการผลิตขึ้นเว็บไซต์ของระบบ พี จี เอส รวมทั้งมี

                       การตรวจติดตามกลุ่มสลับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
                              5. ข้อดีของพีจีเอสและการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบพี จี เอส

                                 มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย (2560)  ได้กล่าวว่า  พี จี เอส เป็นการจัดระบบการตรวจและ
                       รับรองเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายกันให้สามารถรับรองผู้ผลิตได้อย่างเป็น
                       ที่น่าเชื่อถือ ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการรับรองโดยหน่วยตรวจรับรองภายนอก กระบวนการรับรอง

                       ออกแบบมาให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
                       นักพัฒนา นักวิชาการ และผู้บริโภค โดยอาศัยกระบวนการทางสังคมการมีส่วนร่วม  พบปะ
                       แลกเปลี่ยน  บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ ความไว้วางใจ ความโปร่งใส ความเชื่อมั่น และมีการพัฒนา
                       อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาจากเวทีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยให้มีเอกสารหรือ

                       ให้เกษตรกรกรอกแบบฟอร์มน้อยที่สุด และร่วมก าหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ส าคัญ ได้แก่
                                        1. ก าหนดข้อก าหนดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม  เป็นไปตามหลักปรัชญาเกษตร
                       อินทรีย์สากล โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ-ภูมิสังคม และทรัพยากรในท้องถิ่น และ
                       อ้างอิงการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศ หรือสากล
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23