Page 14 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         5







                       นั้น  โดยผู้ซื้อหรือหน่วยงานที่ก ากับดูแลการน าเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ (ในกรณี
                       ส่งออก) เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกหน่วยตรวจรับรอง
                                  2.3 มาตรฐานเป็นเครื่องมือในการควบคุมและส่งเสริมสินค้าเกษตร  ให้มีคุณภาพเป็นไป
                       ตามมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภค ปูองกันความเสียหายที่อาจจะเกิด

                       แก่เกษตรกรหรือกิจการค้าสินค้าเกษตร หรือเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับ
                       พันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ก าหนดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร
                       พ.ศ.2551 แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานบังคับ และมาตรฐานทั่วไป โดยมาตรฐานบังคับ คือ
                       มาตรฐานที่มีกฎกระทรวงก าหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และมาตรฐานทั่วไป คือ

                       มาตรฐานที่มีประกาศก าหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน (ส านักงานมาตรฐานสินค้า
                       เกษตรและอาหารแห่งชาติ,  2552)  ซึ่งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย จัดเป็นมาตรฐาน
                       ทั่วไป ที่พิจารณาโดยคณะกรรมการวิชาการพิจารณามาตรฐานสินค้าเกษตรและคณะกรรมการ
                       มาตรฐานสินค้าเกษตร เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อออกเป็นประกาศ/

                       กฎกระทรวง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน  โดยส านักงานมาตรฐาน
                       สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติมีฐานะเป็นหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation  Body  :  AB)
                       ให้การรับรองหน่วยรับรองในประเทศ (Certification Body : CB) และหน่วยตรวจ  (Inspection

                       Body : IB) เพื่อตรวจประเมิน ประเมินฟาร์ม โรงคัดบรรจุ และโรงงาน ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       แห่งชาติ (Organic Thailand), GMP, HACCP และ ISO 22000

                              3. การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
                                    ปัจจุบันการท าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของไทย
                       (มกษ. 9000 เล่ม 1-2552) รู้จักกันในชื่อ Organic  Thailand  และรับรองมาตรฐานสากลโดย

                       ส านักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมวิธีการผลิต การแปรรูป แสดง
                       ฉลาก จ าหน่าย ครอบคลุมผลผลิตทุกชนิด และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นอาหาร/อาหารสัตว์ครอบคลุมพืช
                       ปศุสัตว์  สัตว์น้ า และผลผลิตจากธรรมชาติ  การจะได้รับการรับรองจะต้องเป็นตามข้อก าหนด
                       กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น  ด้านความปลอดภัยอาหารของประเทศ โดยเกษตรกร/ผู้ประกอบการ ซึ่ง
                       ปฏิบัติตามข้อก าหนด/มาตรฐานเช่น Organic Thailand, มกท., IFOAM ยื่นขอการรับรองจากหน่วย

                       รับรอง เช่น กรมวิชาการเกษตร,  มกท. ตามมาด้วยกระบวนการตรวจแปลงและได้รับการรับรอง
                       ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์แล้วมีการน าผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค
                       และในส่วนของการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากลที่ได้รับการยอมรับ เช่น Codex,

                       IFOAM/IOAS, NOP-USDA-USA, EU Regulation-EU, JAS-MAFF (ญี่ปุุน) เป็นต้น  เพื่อให้เกิดการ
                       ยกระดับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของไทยให้เทียบเท่าสากล   ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ
                       อาหารแห่งชาติ (มกอช.)  ในฐานะหน่วยงานรับรองระบบงานด้านการตรวจสอบรับรองของไทยอยู่
                       ระหว่างการเตรียมการในการท าความเท่าเทียมระบบการตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์ของไทยให้

                       เป็นที่ยอมรับในประเทศคู่ค้าที่ส าคัญ เช่น อียู สหรัฐอเมริกา ญี่ปุุนและจีน สนับสนุนและพัฒนา
                       หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ท าหน้าที่ตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รวมทั้ง
                       หน่วยงานที่มีภารกิจรับรองแปลงในระดับท้องถิ่นจัดท าระบบองค์กรตามมาตรฐานสากล (ISO/IEC
                       17065) นอกจากนี้ประเทศไทยได้ยื่นสมัครเข้าอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ 3 (Third Country List)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19