Page 13 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4







                       แนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการท าการผลิต ดังนั้นเกษตร
                       อินทรีย์จะประสบความส าเร็จได้ เกษตรกรจ าเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ
                                  จากความส าคัญข้างต้น ท าให้เห็นถึงความเสียหายและเกิดผลกระทบจากการพัฒนา
                       ของภาคการเกษตรแบบเคมีซึ่งนับวันมีแต่จะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ น ามาซึ่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

                       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรดินที่เป็นส่วนส าคัญของสารอาหารสิ่งแวดล้อม เมื่อสารอาหารหลัก
                       เสียหายก็จะเกิดผลเสียหายเป็นลูกโซ่ ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จึงเป็นส่วนส าคัญส าหรับการน ามาใช้
                       เพื่อช่วยเหลือธรรมชาติในดินให้มีอาหารที่จะหล่อเลี้ยงพืช ก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ

                              2.  มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์
                                      มาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้นมีจ านวนหลายมาตรฐานและหน่วยงานที่รับรองก็มีความ

                       แตกต่างกันมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีทั้งการรับรองระดับท้องถิ่น การรับรองระดับประเทศ และ
                       การรับรองระดับสากล โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงการรับรองในประเทศไทย โดยได้สรุปมาตรฐานเกษตร
                       อินทรีย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไว้ ดังนี้
                                  2.1 ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหน่วยงานระดับ

                       กรมมีภารกิจหลักในการผลักดันมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรแปรรูป และอาหาร
                       นอกจากนี้หน้าที่ของมกอช. ยังครอบคลุมไปถึงการก าหนดมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานสินค้า
                       เกษตรและอาหารตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค  รวมทั้งรับผิดชอบในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา
                       ทางการค้าเชิงเทคนิค และยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทยให้สามารถ

                       แข่งขันในเวทีระดับโลกโดยผู้ที่ได้รับมาตรฐาน มกอช. ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมาตรฐาน มกษ. 9000-
                       2552 ส าหรับพืชจะได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์“Organic  Thailand” อย่างไรก็ตาม มกอช.
                       ไม่ได้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมทั้ง

                       มาตรฐานที่ มกอช. ได้ก าหนดขึ้นก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศส าคัญที่เป็นผู้น าเข้าผลิตภัณฑ์
                       เกษตรอินทรีย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ในการขอรับรองมาตรฐานของมกอช. สามารถขอการรับรองได้จาก
                       หน่วยงานรัฐ เช่น การขอรับรองข้าวอินทรีย์จากกรมการข้าว   พืชอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร
                       ปศุสัตว์อินทรีย์จากกรมปศุสัตว์ สัตว์น ้าอินทรีย์จากกรมประมง เป็นต้น หรืออาจขอการรับรองจาก
                       ส านักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนก็ได้ เนื่องจาก มกท.ได้ขอรับการ

                       รับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์จากมกอช. เมื่อปี 2547 แล้ว แต่ทั้งนี้มีค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรอง
                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                                  2.2 หน่วยงานตรวจรับรองภาคเอกชนจากต่าง ๆ ที่เข้ามาตรวจรับรองมาตรฐานเกษตร

                       อินทรีย์ในประเทศไทยด้วยส าหรับการส่งออก เช่น BioAgriCert      จากประเทศอิตาลี Soil
                       Association  จากประเทศอังกฤษ BCS  จากประเทศเยอรมนี IMO  จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์/
                       เยอรมนี โดยแต่ละหน่วยงานมีกระบวนการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละหน่วย
                       ตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์แตกต่างกันออกไป ซึ่งหน่วยตรวจรับรองจะมีเอกสารชี้แจงรายละเอียด

                       ขั้นตอนตรวจรับรองของตัวเองให้ผู้สนใจได้รับทราบ ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการควรท าการศึกษา
                       ขั้นตอนเหล่านี้อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจสมัคร และควรศึกษาเปรียบเทียบหน่วยตรวจรับรอง 2-3
                       แห่ง เพื่อพิจารณาดูรายละเอียดของข้อก าหนดมาตรฐาน ค่าใช้จ่าย ความรวดเร็ว คุณภาพของการ
                       ให้บริการ ตลอดจนความน่าเชื่อถือของหน่วยงานและการยอมรับผลการตรวจรับรองของหน่วยงาน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18