Page 12 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3







                                  วิริยะ (2550) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความส าคัญของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า เป็นการใช้
                       ทรัพยากรดินโดยค านึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุของดินและ
                       ท าให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหายและไร้สมรรถภาพ โดยความไม่สมดุลนี้เป็นอันตรายอย่าง
                       ยิ่งต่อผืนดินที่สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ท าให้ผลิตผลมีแร่ธาตุวิตามินและพลังชีวิตต่ า

                       เป็นผลท าให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองของพืช พืชจะอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรค และท าให้
                       การคุกคามของแมลงเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจะน าไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์ก าจัดวัชพืช
                       ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติห่วงโซ่อาหารและระบบการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและ
                       สิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน จากรายงานการส ารวจขององค์การอาหารและยาและการเกษตร

                       แห่งสหประชาชาติ พบว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ท าการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลง
                       เป็นอันดับที่ 5 ของโลก ใช้ฮอร์โมนเป็นอันดับ 4 ของโลก ประเทศไทยน าเข้าสารเคมีสังเคราะห์
                       ทางการเกษตร เป็นเงินสามหมื่นล้านบาทต่อปี เกษตรกรต้องมีปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์
                       ในการเพาะปลูก ท าให้เกิดการลงทุนสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปี

                       ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้น  มีผลให้เกษตรกรขาดทุนมีหนี้สิน  การเกษตรอินทรีย์จะ
                       เป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้  เนื่องจากเกษตรอินทรีย์จะมีการบริหารจัดการผลิตทางการ
                       เกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใด

                       ชนิดหนึ่งสูงสุดโดยการพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ โดยไม่ได้ค านึงผลกระทบต่อทรัพยากรทางสิ่งแวดล้อม
                       ส าหรับเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความส าคัญกับการอนุรักษ์
                       ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตรไปพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพื้นฟูความอุดมสม
                       บูรณของดิน การรักษาแหล่งน้ าให้สะอาด นอกจากนี้ สุพจน์ (2552) ได้กล่าวว่า เกษตรอินทรีย์เป็น
                       ระบบการผลิตที่ค านึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

                       โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะ
                       เป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีก าจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อ
                       ทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

                       ปุ๋ยพืชสด  และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงต้านทาน
                       โรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการน าเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะ
                       ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างท าให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค  โดยแนวคิดพื้นฐานของเกษตร
                       อินทรีย์คือ การบริหารจัดการผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากการเกษตร

                       แผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการให้
                       ธาตุอาหารพืชและปูองกันก าจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการท าให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิด
                       เช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่าการเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับ
                       สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การ

                       ประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้ค านึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศ
                       การเกษตร ส าหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความส าคัญกับการอนุรักษ์
                       ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       การรักษาแหล่งน้ าให้สะอาด  และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม  ทั้งนี้เพราะ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17