Page 20 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       11







                       ของกลุ่ม ระบุวันตรวจ และเซ็นชื่อทั้งผู้ตรวจและผู้รับการตรวจ วิธีนี้เหมาะกับกลุ่มผู้ผลิตที่เขียน
                       หนังสือไม่ได้  4) การเสริมสร้างความรู้ การประชุมกลุ่มทบทวนกันอย่างสม่ าเสมอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
                       เรื่องเทคนิคการผลิตต่างๆ และการจัดการด้านการตลาด โดยมีการบันทึกการประชุม และผู้เข้าร่วม
                       ประชุมเป็นเอกสารไว้ตรวจสอบ และ 5) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หลากหลาย ท าให้มีการร่วม

                       ตัดสินใจในแนวนอน โดยแต่งตั้งผู้น ากลุ่มและสลับเปลี่ยนหน้าที่กัน และการที่กลุ่ม พี จี เอส
                       จะสามารถแสดงให้เห็นถึงการควบคุมดูแลสมาชิกให้ปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้
                       กลุ่มพี จี เอส จะต้องมีองค์ประกอบที่ส าคัญดังนี้
                                        1. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ใช้อ้างอิงเป็นที่ยอมรับ  เช่น มาตรฐานเกษตร

                       อินทรีย์ของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย ซึ่งประยุกต์จาก มกษ. 9000 เล่ม 1 และเล่ม 2 เป็นภาษาที่ง่าย
                       ต่อความเข้าใจ (มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, 2560) หรือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล (IFOAM, 2016;
                       ISEAL, 2016)
                                        2.  การก าหนด กฏ กติกา ข้อก าหนดการปฏิบัติตามมาตรฐานร่วมกัน เป็นภาษาเข้าใจง่าย

                       สั้นๆ
                                        3. การจัดท าเอกสารที่จ าเป็น ได้แก่ โครงสร้างกลุ่ม ฐานข้อมูลสมาชิกกลุ่ม
                       แผนการผลิตของสมาชิกพร้อมแผนผังฟาร์ม เป็นต้น

                                        4.  มีกระบวนการที่พิสูจน์ว่าสามารถควบคุมการผลิตของสมาชิกทุกคนให้ปฏิบัติ
                       ตามมาตรฐาน เช่น กระบวนการตรวจเยี่ยมแปลง การรับรองแปลงผลิต รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ
                                        5.  การก าหนดบทลงโทษ กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       ของกลุ่ม
                                        6. มีการกล่าวค าปฏิญญาร่วมกัน เพื่อแสดงความโปร่งใส

                                        7. การก าหนดเครื่องหมายการรับรอง Logo  seal  ขององค์กรจัดระบบ และ
                       แสดงรหัสผู้ได้รับการรับรอง

                              6. สรุปขั้นตอนการด าเนินงานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (เกษตรอินทรีย์ PGS)
                                       การด าเนินงานขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ให้เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน
                       เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ภายใต้เครือข่ายของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย  สามารถสรุปขั้นตอนการ

                       ด าเนินงานได้ จ านวน 8 ขั้นตอน ดังนี้
                                    6.1 วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มว่าสมาชิกในกลุ่มมีการเพาะปลูกพืชอะไร ท าการเลี้ยง
                       สัตว์ชนิดใดบ้าง  มีสมาชิกคนใดบ้างที่พร้อมท าการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ มีสมาชิกกี่คนที่ผ่าน

                       การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ฯลฯ จัดท าโครงสร้างของกลุ่มให้มีความชัดเจน เพื่อวาง
                       แผนการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนการด าเนินงานของกลุ่มให้มีความต่อเนื่องและเป็นไปอย่าง
                       มีประสิทธิภาพ
                                  6.2 เรียนรู้ท าความเข้าใจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยเข้ารับการอบรมเรื่องเกษตร

                       อินทรีย์กับหน่วยงานต่างๆ ถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่าง
                       สม่ าเสมอ
                                  6.3 เรียนรู้กระบวนการ พี จี เอส ก าหนดการประชุมกลุ่มเป็นประจ า  การวางแผนการ
                       บริหารงานในกลุ่ม ทุกรอบการผลิต ร่วมกันก าหนด กฏ กติกา บทลงโทษ และมาตรฐานเกษตร
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25