Page 16 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7







                       ในการท าเกษตรอินทรีย์และเน้นตลาดภายในท้องถิ่นและภายในประเทศ ซึ่งปรากฏในเอกสารที่ชื่อว่า
                       “Shared  Vision-Shared  Ideals” พี จี เอส ได้ถูกทดลองน าร่องใน 8  ประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2548
                       ได้แก่ นิวซีแลนด์  ออสเตรเลีย  แอฟริกาตะวันออก นามิเบีย  อินเดีย  บราซิล  อุรุกวัย และฝรั่งเศส
                       และตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เป็นต้นมา

                                  ปัจจุบันมีประเทศที่น าระบบพี จี เอส ไปใช้รับรองเกษตรอินทรีย์กว่า 72  ประเทศ
                       โดยแบ่งเป็นประเทศที่ใช้ พี จี เอส ทั้งหมด/บางส่วนของประเทศ จ านวน 39  ประเทศ และอีก 33
                       ประเทศอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบ พี จี เอส   โดยทั้งโลกมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เข้าร่วมกระบวนการ
                       พี จี เอส มากกว่า  46,000  ฟาร์มมีผู้ผลิตและผู้แปรรูปที่เกี่ยวข้องกับพีจีเอสจ านวน  109,317  ราย

                       แต่มีเพียง 46,945 รายเท่านั้นที่ได้การรับรองด้วยพีจีเอส(PGS-certified) และก าลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ
                       พี จี เอส ท าให้เกิดการขยายตัวการท าเกษตรอินทรีย์ในชนบทและมีช่องทางตลาดให้เกษตรกรขายตรง
                       มากขึ้น เช่น ตลาดนัดสีเขียวในพื้นที่ ระบบสมาชิกล่วงหน้า (Community  Supported  Agriculture,
                       CSA) และระบบเครือข่ายดิจิตอล เป็นต้น  พี จี เอส จึงจัดเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบทท า

                       ให้ผู้บริโภคภายในประเทศเข้าถึงอาหารอินทรีย์ในราคาที่ซื้อหาได้รวมทั้งเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
                       และสรรพสิ่งให้มีใช้ชั่วลูกหลาน พีจีเอสเป็นระบบที่แตกต่างจากระบบการรับรองโดยบุคคลที่สาม หรือ
                       หน่วยตรวจรับรองที่คุ้นเคยกันมานาน โดยกระตุ้นให้ผู้ผลิตเกิดการพัฒนาการผลิตเข้าสู่มาตรฐานเกษตร

                       อินทรีย์ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค มีผลท าให้เกิดการวาง
                       แผนการผลิตตามที่ตลาดต้องการ  เมื่อเกษตรกรรายย่อยได้รับการรับรองผลสุดท้ายท าให้มีการท าเกษตร
                       อินทรีย์เพิ่มขึ้น เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งต่อรายได้ของเกษตรกร ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ
                       สิ่งแวดล้อม สุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค และเกิดสังคมเข้มแข็งในที่สุด
                                  พี จี เอส ในประเทศไทยเกิดขึ้นมาจากความต้องการของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน

                       ทั้งกลุ่มผู้ผลิตที่ท าการปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมง ที่มีผลผลิตหลายชนิดในปริมาณไม่มาก ไม่สามารถ
                       เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติจากหน่วยตรวจรับรองบุคคลที่สาม เนื่องจากบุคคลากรและ
                       งบประมาณจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อการตรวจรับรองผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ตามการขยายตัวของตลาด

                       สินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาอาศัยหน่วยตรวจรับรองเอกชน แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง
                       และมีระบบเอกสารที่ซับซ้อน จึงไม่เกิดการขยายตัวของการท าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย มูลนิธิ
                       เกษตรอินทรีย์ไทย Thai  Organic  Agriculture  Foundation  (มกอท. หรือ TOAF) เป็นองค์การนอก
                       ภาครัฐจึงจัดท าระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาระบบภายใต้รูปแบบที่มีความหลากหลายของ

                       การผลิต ตามสภาพเศรษฐกิจ ภูมิสังคม ระบบนิเวศ และการตลาด ซึ่งไม่มีสูตรส าเร็จ แต่ทุกกลุ่มผู้ผลิต
                       ต้องด าเนินการภายใต้หลักการพีจีเอสของ IFOAM และประยุกต์ใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติไทย
                       มกษ. 9000  เกษตรอินทรีย์เล่ม 1  และเล่ม 2  ในการอ้างอิง   โดยการด าเนินการน าร่องในประเทศไทย
                       ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร ส านักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

                       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานต่างๆที่สนใจ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากธนาคาร
                       พัฒนาแห่งเอเซีย (Asian Development Bank, ADB) โดยมีกลุ่มเปูาหมาย 5 กลุ่มจังหวัดดังนี้ 1) กลุ่ม
                       สหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จังหวัดสุรินทร์ 2) กลุ่มพีจีเอสอินทรีย์สุขใจ จังหวัดนครปฐม 3)  กลุ่ม
                       สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่  4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แม่มอก อ าเภอเถิน จังหวัดล าปาง

                       และ5)  กลุ่มเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์    โดยทุกกลุ่มต้องด าเนินการจัดระบบการรับรอง
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21