Page 11 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2







                       Organic  Farming  in  Thailand) ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian
                       Development Bank - ADB) และกรมฯ ได้ด าเนินงานโครงการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมี
                       กลุ่มเกษตรกรน าร่องที่เข้าร่วมทดลองระบบเกษตรอินทรีย์ PGS  ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตร
                       อินทรีย์ด้วยกระบวนการ PGS แล้ว   จากผลการด าเนินงานดังกล่าวพบว่า การรับรองมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมกับเกษตรกรไทยในปัจจุบันมากที่สุด คือ การด าเนินการรับรองมาตรฐาน
                       เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory  Guarantee  Systems  ; PGS)  เนื่องจากระบบการ
                       รับรองดังกล่าวจะเน้นไปที่การประสานความมีส่วนร่วม เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดกระบวนการ
                       ในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนทัศนคติ บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ซึ่งท าให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                       และเหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยและผู้บริโภคในท้องถิ่น
                                   ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรท าการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์และพัฒนาเข้าสู่
                       การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ จึงควรน าระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือเรียกว่า

                       พี จี เอส (PGS)  มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รายย่อยของประเทศ
                       ไทย   อย่างไรก็ตาม PGS  เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มด าเนินการในประเทศไทยและยังมีข้อมูลการ
                       ศึกษาวิจัยไม่มาก   การศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลส าคัญในการที่จะผลักดันให้เกษตรกรผ่านการรับรอง

                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ด้วยกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม  จึงเป็นสิ่งส าคัญท าให้ทราบว่ามี
                       ปัจจัยใดบ้างที่เอื้อหรือส่งผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และการ
                       ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมมีผลด้านการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
                       หรือไม่ การมุ่งศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถน าไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนา

                       งานโครงการเกษตรอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดินในการสนับสนุนให้เกษตรกรผ่านการรับรองมาตรฐาน
                       เกษตรอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

                                                           วัตถุประสงค์
                              1.  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
                              2.  เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและรายได้ระหว่างระบบเกษตรเคมีและระบบเกษตร

                       อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (เกษตรอินทรีย์ PGS)

                                                         การตรวจเอกสาร

                              1.  ความส าคัญของเกษตรอินทรีย์
                                      มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เกษตรอินทรีย์ เล่ม 1 (มกษ.9000 เล่ม1-2552)  ได้ก าหนด
                       นิยามความหมายของเกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการจัดการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุน

                       ต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพวงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุทางธรรมชาติ
                       หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากสารสังเคราะห์และไม่ใช้พืชสัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการ
                       ดัดแปรพันธุกรรม (genetic  modification)  หรือพันธุวิศวกรรม (genetic  engineering)  มีการ
                       จัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์
                       และคุณภาพที่ส าคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน (ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์และอาหาร

                       แห่งชาติ, 2552)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16