Page 10 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                                                        หลักการและเหตุผล
                                  ปัจจุบันการผลิตแบบเกษตรเคมีที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขัน
                       เป็นหลักได้ท าให้เกิดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจ านวนมากเพื่อเร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช และมีการใช้
                       สารเคมีก าจัดวัชพืช และศัตรูพืชเป็นจ านวนมากจนก่อให้เกิดสารพิษปนเปื้อนในผลผลิตของเกษตรกร

                       ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งท าให้มีสารเคมีตกค้างในดินส่งผลให้ทรัพยากรดิน และสิ่งแวดล้อม
                       เสื่อมโทรมลง  นอกจากนี้การผลิตในระบบเกษตรเคมี  มีต้นทุนการผลิตทางการเกษตรสูงเพิ่มมากขึ้น
                       จากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร  เนื่องจากราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร

                       มีราคาแพง   ซึ่งจากสภาพปัญหาดังกล่าว ท าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นถึงความส าคัญที่จะต้อง
                       ท าการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยรัฐบาลได้มีการประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการน าเอา
                       แนวคิดการท าเกษตรอินทรีย์มาเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

                                  กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจด้านการพัฒนาและจัดการที่ดิน การฟื้นฟู
                       ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทาง
                       การเกษตร  กรมฯ จึงมีแผนงานด าเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2554  เป็นต้นมา

                       โดยให้การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมและเต็มใจเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วม
                       โครงการ  ให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่จ าเป็นส าหรับการผลิตในระบบเกษตร
                       อินทรีย์  เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินท าหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านเกษตรอินทรีย์ให้กับกลุ่มเกษตรกร
                       เพื่อด าเนินการสมัครขอรับการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน  เช่น

                       กรมวิชาการเกษตร  กรมการข้าว และส านักมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ทั้งนี้จากผลการ
                       ด าเนินงานมาระยะหนึ่งพบว่า  การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมามุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อการส่งออก
                       ผู้ผลิตและผู้บริโภคอยู่ห่างกัน และจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองบุคคลที่สามเท่านั้น

                       ท าให้เกษตรอินทรีย์ทั่วโลกไม่เกิดความยั่งยืนที่แท้จริง ไม่สามารถขยายตัวได้ทันกับโลกที่มีการ
                       เปลี่ยนแปลง และตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และพบว่าการรับรองโดย
                       หน่วยตรวจรับรอง  ไม่ได้เหมาะกับเกษตรอินทรีย์ทุกระบบที่มีความหลากหลายของวิถีการผลิต
                       เนื่องจากการขอรับการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองเอกชนมีค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองที่สูง

                       เกษตรกรรายย่อยที่ผลิตเกษตรอินทรีย์จึงไม่สามารถจ่ายค่าตรวจรับรองได้  และในกรณีที่ขอรับ
                       บริการตรวจรับรองจากหน่วยตรวจรับรองภาครัฐ  ในบางปีอาจไม่ได้รับการตรวจรับรอง  เนื่องจาก
                       ภาครัฐมีงบประมาณจ ากัด   และพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่สามารถให้บริการตรวจรับรองได้ทันเวลา

                       ส่งผลให้เกษตรกรเสียโอกาสที่จะได้ใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                                      ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2558 กรมพัฒนาที่ดินได้ร่วมกับมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย สนับสนุน
                       ด้านเทคนิควิชาการในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยกระบวนการรับรองแบบ
                       มีส่วนร่วมใช้หลักการ PGS ของ IFOAM และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (Thai Standard

                       Agriculture) มกษ.9000 เล่ม 1 และเล่ม 2 ปรับประยุกต์เข้ากับบริบทของเกษตรกรย่อยในแต่ละ
                       พื้นที่ของประเทศไทย  โดยเริ่มน าร่องด าเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - ปี พ.ศ.2559 ภายใต้โครงการ
                       ส่งเสริมการใช้ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมให้กับเกษตรกรรายย่อยที่เป็นผู้ผลิตระบบเกษตร

                       อินทรีย์ในประเทศไทย (Promoting Participatory Guarantee Systems (PGS) for Small Scale
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15