Page 8 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       ชื่อโครงการวิจัย    การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบ
                                               มีส่วนร่วม

                                               Studying on factors achieving (Participatory Guarantee Systems; PGS)
                                               Certificates of Organic Farmers in Thailand.

                       ทะเบียนวิจัยเลขที่  59 – 60 – 05 – 99 – 030000 – 009 – 110 – 01 - 26
                       ผู้ด าเนินการ         นางลักษมี เมตต์ปราณี  (Mrs. Laksamee  Mettpranee)


                                                            บทคัดย่อ

                                  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม   และการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและรายได้ระหว่างระบบเกษตร
                       เคมีและระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม  โดยท าการศึกษากับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมทดลอง
                       ระบบ PGS  ในปี 2558    จ านวน 6  กลุ่ม ใน 6  จังหวัด จ านวนรวมทั้งสิ้น 275  คน  ซึ่งมีเกษตรกร
                       ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจ านวน 153 คน   ผลการศึกษาพบว่า

                       เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง จ านวน 157 คน และเพศชาย จ านวน 118 คน  โดยส่วน
                       ใหญ่จะมีอายุ 51 – 60 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา   ไม่เคยเป็นหมอดินอาสา  มีพื้นที่ท าการเกษตร
                       อยู่ที่ 1 – 5 ไร่   ไม่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรเกษตรอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน   เป็นผู้เคยผ่านการ
                       รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง จ านวน 141 คน   และเป็น

                       เกษตรกรที่ท าการผลิตเกษตรอินทรีย์ระยะเวลานานมากกว่า 5 ปี
                                  เมื่อน าข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรอง
                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม  โดยเรียงล าดับจากมากไปหาน้อย  ได้แก่ 1) การปลูกพืช
                       แบบผสมผสาน (B=0.451)    2) การปลูกข้าว (B=0.358)    3) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

                       และเอกชน (B=0.284)     4) การปลูกไม้ผล (B=0.247)    5) ระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์
                       (B=0.451)  6)  การเคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง
                       (B=0.190)  7) การปลูกสมุนไพร (B=0.175)   8) การปลูกพืชผัก (B=0.122)    9) การฝึกอบรม

                       หลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” (B=0.074)  และ 10) การฝึกอบรมหลักสูตร “พื้นฐานเกษตร
                       อินทรีย์ PGS”  (B=0.011)
                                  นอกจากนี้ ยังพบว่า ก่อนเข้าสู่ระบบ PGS  (ระบบเกษตรเคมี)  เกษตรกรมีต้นทุนการ
                       ผลิตเฉลี่ย 2,584.92 บาทต่อไร่ต่อปี  มีรายได้เฉลี่ย  93,675.82 บาทต่อปี  หลังเข้าสู่ระบบ PGS
                       เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,735.88 บาทต่อไร่ต่อปี หรือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 32.85  เกษตรกร

                       มีรายได้เฉลี่ย 138,211.60 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.54   เมื่อน าข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทาง
                       สถิติ พบว่า ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมต่ ากว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ย
                       ของระบบเกษตรเคมี และรายได้เฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

                       สูงกว่าในระบบเกษตรเคมีอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13