Page 24 - เปรียบเทียบพันธุ์หญ้าแฝกและพืชคลุมดินต่อการฟื้นฟูและการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         8



                       ไหลลงเบื้องลางไดมากขึ้น (Chomchaloa and Chapman, 2003) Chinapan (1996) พบวาพื้นที่
                       ปลูกไมผล หญาแฝกปลูกหางจากตนไมผล 4 เมตร เปนแนวขนานจะเพิ่มปริมาณความชื้นดินที่ระดับ
                       ความลึก 30 เซนติเมตร ประมาณ 6-8 เปอรเซ็นต ถาปลูกเปนแนวครึ่งวงกลม โดยหางจากตนไมผล
                       4 เมตร จะเพิ่มปริมาณความชื้นในดินประมาณ 13-15 เปอรเซ็นต และรักษาความชื้นในดินยาวนาน

                       ขึ้น ทั้งนี้ไมควรปลูกหญาแฝกระยะหางต่ํากวา 1 เมตร จากไมผลหรือแถวพืชไร เพื่อหลีกเลี่ยงการ
                       แกงแยงอาหาร

                       3. พืชปุยสดและพืชคลุมดิน

                              พืชปุยสด (Green manure crops) หมายถึง ชนิดพืชที่ปลูกไวสําหรับการไถกลบลงดินเพื่อใช
                       ประโยชน ในการปรับปรุงบํารุงดิน สวนใหญมักเปนพืชตระกูลถั่ว โดยทั่วไปมีคุณลักษณะพิเศษตรงที่มี
                       ปมเกิดขึ้นที่ราก (root nodule) หรือบางชนิดมีปมเกิดขึ้นที่บริเวณลําตน (stem nodule) ปมเหลานี้
                       ชวยในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศแลวสะสมไวในสวนตาง ๆ ของพืชตระกูลถั่ว เมื่อไถกลบลงดิน

                       ไนโตรเจนที่มีอยูจะถูกปลดปลอยสูดิน (กรมพัฒนาที่ดิน. มปป.) พืชปุยสดหรือพืชบํารุงดินที่เหมาะสม
                       มักใชพืชตระกูลถั่วเกือบทั้งหมด ทั้งนี้เพราะพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติเดนหลายประการ ปลูกงาย
                       โตเร็ว ลําตนมีใบจํานวนมาก เมล็ดพันธุหาไดงายและราคาถูก เมื่อสับกลบลงดินแลวเนาเปอยสลายตัว

                       เร็ว  พืชตระกูลถั่วที่สําคัญสามารถจําแนกออกเปนกลุมยอย ๆ ตามความเหมาะสมในการใชเปน
                       ปุยพืชสด ดังนี้
                                  1) พืชตระกูลถั่วที่เปนปุยพืชสดไดเร็ว พืชจําพวกนี้เมื่อสับกลบลงดินแลวจะเนาเปอย
                       สลายตัวเปนปุยไดรวดเร็ว เพราะมีจํานวนใบมาก ลําตนไมแข็ง สวนใหญเปนพืชลมลุก (annual) ไดแก
                       ปอเทือง โสนอัฟริกัน ถั่วพรา และถั่วแปบ เปนตน การไถกลบพืชปุยสดลงดินทําใหเศษซากพืชผสม

                       คลุกเคลากับดิน เกิดมีชองวางและชองอากาศในดินมากขึ้น โดยเฉพาะการไถกลบซากพืชที่มีมวล
                       ชีวภาพมาก ทําใหดินโปรงตัว เกิดมีชองวางระหวางอนุภาพของดิน ชวยใหการไหลเวียนของอากาศใน
                       ดินเปนไปไดสะดวก และจุลินทรียในดินสามารถดําเนินกิจกรรมอยางเต็มที่ ชวยใหการไถพรวนเตรียม

                       ดินไดงาย รวมทั้งพืชที่ปลูกสามารถเจริญเติบโต แข็งแรง มีระบบรากที่ชอนไชไดลึก เปนประโยชนตอ
                       การดูดซึมธาตุอาหารไดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ความพรุนของดินที่เพิ่มขึ้นมาจะมีผลตอการชวยลด
                       ความหนาแนนทึบของดิน โดยเฉพาะอยางยิ่งดินทรายและดินรวนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                       ซึ่งเปนดินที่มีความหนาแนนสูง ดินจะเกิดการแนนทึบ การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุลงดินชวยลด

                       ความแนนทึบของดิน ชุมพล และวิศิษฐ (2532) ศึกษาการใชปุยพืชสดลดความหนาแนนของดินในชุด
                       ดินปากชอง พบวาพืชปุยสดทุกชนิดเมื่อไถกลบและทิ้งไวใหสลายตัวในดินนาน 20 วัน และมีการใช
                       ตอเนื่องกันเปนเวลา 2 ป ความหนาแนนของดินลดลง และความพรุนของดินเพิ่มขึ้นอยางเห็นไดชัด
                                  2) พืชตระกูลถั่วที่ใชเปนอาหาร พืชจําพวกนี้ฝกออนและเมล็ดใชเปนอาหารของมนุษย

                       ใบเปนอาหารของสัตวเลี้ยง ภายหลังการเก็บเกี่ยวฝกและเมล็ดออกไปแลว สามารถไถกลบลําตนลง
                       ดินเปนปุยพืชสดบํารุงดินตอไป แตใหปริมาณน้ําหนักสดตอไรต่ํา ไมนิยมใชปลูกเปนปุยพืชสด ไดแก
                       ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วดํา ถั่วพุม ถั่วแขก ถั่วแดง และถั่วฝกยาว เปนตน
                                  3) พืชตระกูลถั่วไมพุมและไมยืนตน พืชจําพวกนี้มีการเจริญเติบโตคอนขางสูงแตก

                       กิ่งกานสาขาไดมาก ลักษณะเนื้อไมคอนขางแข็งถึงแข็ง นิยมปลูกเปนแถวถี่ชิด ทําหนาที่เปนไมบังลม
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29