Page 23 - เปรียบเทียบพันธุ์หญ้าแฝกและพืชคลุมดินต่อการฟื้นฟูและการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         7



                       เปอรเซ็นต ที่ระดับความลึกดิน 0-20 และ 20-40 เซนติเมตร ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับไมมีแถว
                       หญาแฝก ในฤดูแลงทําใหปริมาณความชื้นในดินเพิ่มขึ้น 42.1 และ 13.3 เปอรเซ็นต ที่ระดับความลึก
                       ดินทั้ง 2 ระดับ เนื่องจากในฤดูฝนจะมีความชื้นในดินมากกวาในชวงฤดูแลง นอกจากนี้การคายน้ําของ
                       พืชในชวงฤดูฝน ดินมีความชื้นอยางเพียงพอ อัตราการคายน้ํานอย สวนในฤดูแลงความชื้นในดินลดลง

                       ซึ่งไมเพียงพอกับความตองการของพืช อัตราการคายน้ําของพืชจะเพิ่มมากขึ้น
                                          Hu et al. (1997) ไดศึกษาปริมาณความชื้นในสวนมะนาวดวยการคลุมโคน
                       ตนดวยใบหญาแฝก และฟางขาวเปรียบเทียบกับการไมใชวัสดุคลุมดิน ผลการศึกษาพบวาใบหญาแฝก
                       ชวยรักษาความชื้นในดินไดสูงกวาฟางขาว และไมคลุมดิน เทากับ 4.5 และ 17.9 เปอรเซ็นต ตามลําดับ

                       และในชวงกลางฤดูแลง จะมีความแตกตางที่สูงเทากับ 10.3 และ 27.8 เปอรเซ็นต ตามลําดับ ดังนั้น
                       การคลุมดินดวยใบหญาแฝกจะทําใหเพิ่มความทนทานตอความแหงแลงของพื้นที่เพาะปลูก ได
                       ระยะเวลา 6-10 วัน Xia et al. (1996) รายงานวาหญาแฝกชวยปองกันความรอนจากแสงแดดใน
                       สวนสม โดยทําใหอุณหภูมิในฤดูรอนใตตนสมที่ระดับผิวดิน ที่ระดับ 20 เซนติเมตร จากผิวดิน และที่

                       ระดับ 150 เซนติเมตร เหนือผิวดินมีอุณหภูมิต่ํากวาสวนสมที่ไมปลูกหญาแฝก และความชื้นในสวนสม
                       เพิ่มขึ้นดวย นอกจากนี้ Liyu (1988) รายงานวาในประเทศจีนมีการปลูกแถวหญาแฝกระหวางตนชา
                       และพืชอื่น ๆ มีการตัดแตงใบแลวนําไปใชเปนวัสดุคลุมดินในพื้นที่ปลูกพืชดังกลาว ใบหญาแฝกชวย

                       รักษาความชื้นในดิน ทําใหอุณหภูมิดินลดต่ําลง ชวยปกปองความแหงแลงในฤดูรอนและความหนาว
                       เย็นของอากาศในฤดูหนาว
                                          สุภา (2544) ศึกษาอิทธิพลของการตัดใบหญาแฝกคลุมดินตอการเปลี่ยน
                       แปลงปริมาณความชื้นที่เปนประโยชนของดินในชวงฤดูแลง ในพื้นที่โครงการปลูกปาชัยพัฒนา-แมฟา
                       หลวง พบวาดินที่ระดับความลึก 0-20 เซนติเมตร มีปริมาณความชื้นที่เปนประโยชนลดลงอยาง

                       รวดเร็ว กวาดินระดับความลึก 20-50 และ 50-80 เซนติเมตร สวนปริมาณความชื้นที่เปนประโยชน
                       ของดินชวงฤดูแลงตลอดระยะเวลา 30 วัน ระหวางการตัดใบหญาแฝกคลุมดิน ไมคลุมดิน และไมตัด
                       ใบ โดยวิธีการไมตัดใบสวนใหญมีปริมาณความชื้นสูงกวาการตัดใบคลุมดินและไมคลุมดิน ทั้งนี้เปน

                       เพราะหญาแฝกมีการแตกกอใบออนมีการใชน้ํา สําหรับการเจริญเติบโตทําใหความชื้นดินลดลง สวน
                       การคลุมดินมีสวนชวยใหการระเหยน้ําจากผิวดินลดลง ธวัชชัย และคณะ (2537) รายงานวา การตัด
                       ใบหญาแฝกมาคลุมดินชวยรักษาความชุมชื้นได โดยในพื้นที่ 1 ไร สามารถตัดใบหญาแฝกได 2.0–2.5
                       ตัน เมื่อตากแหงจะเหลือน้ําหนัก 1 ใน 3 สวน (700-800 กิโลกรัม) และตนหญาแฝกที่ยอยสลายเปน

                       ปุยอินทรีย ทําใหดินมีความอุดมสมบูรณเพิ่มขึ้น Grimshaw (1998) พบวาการปลูกหญาแฝกในพื้นที่
                       ไมผลสามารถเพิ่มความชื้นของดินในชวงฤดูแลงสูงถึง 30 เปอรเซ็นต  Xia et al. (1996) พบวาฤดู
                       แลง ความชื้นดินในพื้นที่ปลูกหญาแฝกสูงกวาพื้นที่ที่ไมปลูกถึง 42.1 เปอรเซ็นต สวนฤดูฝนความชื้น
                       ดินในพื้นที่ปลูกหญาแฝกสูงกวาพื้นที่ที่ไมปลูกถึง 20.3 เปอรเซ็นต มีงานวิจัยที่ใชประโยชนหญาแฝก

                       เพื่อรักษาความชุมชื้นในดินที่ปลูกพืชไรหลายชนิด เชนพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง ปริมาณน้ําฝน 1,240
                       มิลลิเมตร พบวาการปลูกแนวหญาแฝกชวยลดปริมาณการสูญเสียดินจาก 23 เหลือ 0.2 ตันตอไรตอป
                       น้ําไหลบาลดลงจาก 11.3 เหลือ 3.6 เปอรเซ็นต จึงชวยรักษาความชุมชื้นในดินไวเปนอยางดี  พื้นที่
                       ลาดชันที่ปลูกหญาแฝกจะมีปริมาณน้ําที่ไหลผานดินชั้นบนลงสูชั้นลางมากขึ้น ดินมีความชื้นและ

                       ยาวนานขึ้น จากระบบรากของหญาแฝกที่สามารถแทงทะลุผานชั้นดินไดนั้น อาจจะทําใหน้ําสามารถ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28