Page 26 - เปรียบเทียบพันธุ์หญ้าแฝกและพืชคลุมดินต่อการฟื้นฟูและการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                       10



                       คลุมดิน ระหวางแถวสบูดํา โดยใหน้ําชลประทานแบบหยดอัตรา 2 ลิตรตอตน ทุก 2 วัน ในชวงฤดู
                       แลง  มีแนวโนมใหผลผลิตน้ําหนักเมล็ดที่ความชื้นรอยละ 15 สูงสุด (200 กิโลกรัมตอไร) เปรียบเทียบ
                       ตํารับที่เหลือซึ่งมีคาอยูในพิสัย 130.9-145.3 กิโลกรัมตอไร  จากการเจริญเติบโตของตนยางพาราใน
                       แปลงที่มีพืชคลุมตระกูลถั่วชนิดซีรูเลียมและแปลงที่มีหญาคา ตนยางพาราในสวนที่ปลูกพืชคลุม

                       ตระกูลถั่วจะมีการเจริญเติบโตเปน 2 เทาของสวนยางพาราที่มีหญาคาปกคลุม เพิ่มธาตุอาหารและ
                       ปรับปรุงคุณภาพดินการปลูกซีรูเลียมในระหวางแถวยางพารา ไมผล และปาลมนํ้ามัน ยังสามารถเพิ่ม
                       อินทรียวัตถุและธาตุอาหารที่สําคัญ (ประภาส, 2555)
                                  ถั่วปนโต  มีชื่อวิทยาศาสตร  Arachis pintoi Krapov. & W.C. Greg. ชื่อสามัญคือ

                       ถั่วลิสงเถา ถั่วบราซิล เปนพืชอาหารสัตวเขตรอน มีถิ่นกําเนิดอยูในทวีปอเมริกาใต การใชประโยชน
                       สําหรับเลี้ยงสัตว คลุมดินเพื่อรักษาความชื้น หรือตกแตงสถานที่ตาง ๆ เพื่อความสวยงาม ลักษณะ
                       ทั่วไปเปนพืชคลุมดินตระกูลถั่ว มีอายุหลายป ถิ่นกําเนิดอยูในประเทศบราซิล มีชื่อเรียกอยางเปน
                       ทางการวา ถั่วอมาริลโล ดอกสีเหลืองสวยงาม เจริญเติบโตไดดีในทุกสภาพอากาศ หรือแมแตในที่รม

                       หรือมีน้ําทวมขัง ทนทานตอการเหยียบย่ําไดดี ปจจุบันกําลังเปนที่นิยมของนักจัดสวน เนื่องจาก
                       สามารถปลูกแทนสนามหญา หรือปลูกเปนไมประดับไวตามแนวเนินเขา ตามขอบสระน้ํา และยังปลูก
                       เปนพืชคลุมดิน มีลําตนใตดินจํานวนมาก ทนแลง  เจริญเติบโตคลุมดินไดอยางหนาแนน ขึ้นไดดีในดิน
                       ที่มีความอุดมสมบูรณปานกลางและมีความชื้นสูงทนตอการแทะเล็มและเหยียบย่ําของสัตว ขยายพันธุ

                       ดวยเมล็ดและสวนของลําตน ใหผลผลิตน้ําหนักแหงประมาณ 1-2 ตันตอไรตอป เหมาะสําหรับปลอย
                       สัตวแทะเล็ม นอกจากจะใชประโยชนในการเลี้ยงสัตวแลว ทางภาคเหนือแนะนําใหเกษตรกรนําไป
                       ปลูกคลุมดินรวมกับพืชตาง ๆ เกษตรกรยอมรับ โดยเฉพาะเมื่อปลูกรวมกับพืชหลัก เนื่องจากลําตนจะ
                       ไมเลื้อยพันพืชหลัก สวนกรมทางหลวงนําไปใชคลุมดินในระหวางแถวหญาแฝกที่ปลูกในบริเวณริมทาง

                       หลวงใชไดผลดี และศูนยปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง กรมพัฒนาที่ดิน เลือกปลูกถั่วปนโต
                       และแถบพืชตระกูลหญาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคลุมดินและเกาะยึดดินใหดียิ่งขึ้น (กรมพัฒนา
                       ที่ดิน, มปป.)
                                  ถั่วเวอราโน มีชื่อวิทยาศาสตร Stylosanthes hamata ชื่อสามัญคือ แคริบเบี้ยนสไตโล

                       ลักษณะทั่วไปเปนพุมเตี้ย คอนขางตั้งตรงมีกิ่งกานมากเปนพืชอายุ 2-3 ป สูงประมาณ 35 เซนติเมตร
                       ลําตนกลมมีสีเขียว มีขนละเอียดออนสีขาวปกคลุมดานหนึ่งของลําตน ใบมี 3 ใบยอย (trifoliate) ใบ
                       ยอยมีลักษณะคอนขางแคบ ปลายแหลม ไมมีขน ชอดอกอยูรวมกันเปนกลุมมี 8-14 ดอก แตละดอก
                       มีขนาดเล็กสีเหลือง เมล็ดมีเปลือกหุม เมื่อสุกแกเปนสีดํา ไมมีขน ตรงปลายงอโคงขนาดยาว 2-2.5

                       มิลลิเมตร ถั่วเวอราโนเปนพืชเมืองรอน สามารถขึ้นไดในสภาพอากาศทั่วไปของประเทศรอน ขึ้นไดดี
                       ในดินดอนที่มีการระบายน้ําดี ดินรวนปนทรายเจริญเติบโตไดดี ไมเหมาะกับดินเหนียวจัด และดินที่
                       แหง ทนเค็มไดเล็กนอย การใชประโยชนปลูกเปนพืชคลุมระหวางแถวพืชไร เชน มันสําปะหลัง
                       ขาวโพด ขาวฟาง และฝาย มีประสิทธิภาพในการคลุมดินดี แตจําเปนตองมีการจัดการที่ดี ตัดแตงตน

                       ถั่วเวอราโน ครั้งแรกเมื่ออายุ 45 วัน และครั้งตอไปภายหลังการตัดครั้งแรก 30 วัน การใชถั่วเวอราโน
                       ปลูกคลุมดินบนพื้นที่ที่มีความลาดเทจะชวยลดปญหาการชะลางพังทลายของดิน รักษาความชื้นของ
                       ดิน และขึ้นคลุมดินปองกันวัชพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังชวยในการปรับปรุงบํารุงดินระยะยาวจากการ
                       รวงหลนของเศษพืชลงดินและลดปญหาการชะลางพังทลายของดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, มปป.)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31