Page 48 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        41


                          Chino และคณะ (1983) รายงานว่า ในระยะเร่งของการหมักตะกอนน้ าทิ้งเป็นปุ๋ยวัสดุหมักจะถูก
                   ย่อยด้วย Mesophilic fungi และ Aerobic bacteria มากกว่าพวก Thermophilic actinomyces และ

                   พบว่า การออกซิไดซ์สารอินทรีย์ของจุลินทรีย์ท าให้เกิดความร้อนสูงในกองหมัก
                          สุมิตรา (2532) ได้กล่าวถึง จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยเซลลูโลสในกองปุ๋ยหมักว่า แบ่งได้เป็น
                   3 พวกใหญ่ๆ ดังนี้
                          พวกที่ต้องการออกซิเจนและชอบอุณหภูมิปานกลาง มีทั้งแบคทีเรีย รา  และแอคติโนมัยซีส ซึ่งใน

                   แต่ละกลุ่มประกอบด้วยจุลินทรีย์ในสกุล ต่อไปนี้ เชื้อรา ได้แก่ Aspergillus, Chaetomium, Curvularia,
                   Phoma, Fuasium, Memnoniella และ Trichoderma เป็นต้นแบคทีเรีย ได้แก่ Cytophage, Bacillus,
                   Vibrio,  Pseudomonas,  Celluiutomonas,  Sporcyotophage  เป็นต้น  แอคติโนมัยซีส  ได้แก่

                   Streptomyces, Micromonospora, Nocardia จุลินทรีย์เหล่านี้เจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 15 – 45 องศา
                   เซลเซียส และเจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส
                          พวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนและชอบอุณหภูมิปานกลาง จุลินทรีย์ที่ส าคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ แบคทีเรีย
                   จีนัส Clostridium ส่วนเชื้อราและแอคติโนมัยซีสมีความส าคัญน้อยมาก เพราะไม่สามารถเจริญอยู่ใน
                   สภาพที่ขาดออกซิเจนได้

                          พวกที่เจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 45- 65 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีบทบาทในการย่อยสลาย
                   ที่อุณ ห ภูมิ สู ง   จุ ลิ น ท รี ย์ ที่ ส  าคั ญไ ด้แก่   Clostridium  thermocellum  แล ะ  Clostridium
                   thermocellulaseum

                          ส าหรับพวก Facultative Aerobes นั้นสามารถหายใจและท ากิจกรรมการย่อยสลายได้ทั้งใน
                   สภาพที่มีออกซิเจนและไร้ออกซิเจนตราบใดที่ยังคงมี Electron acceptors อยู่ในกองปุ๋ยหมัก (ไพบูลย์
                   และคณะ, 2542)
                          การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก ต้องคอยควบคุมให้กองปุ๋ยหมักมีความชื้นอย่างเหมาะสม โดยการใช้

                   ไม้ไผ่เสียบเข้าไปในกองปุ๋ยหมัก ถ้ามีละอองน้ าเกาะแสดงว่ามีความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้าไม้ไผ่เปียกแสดงว่า
                   มีน้ ามากเกินไป ต้องท าการกลับกองปุ๋ยเพื่อช่วยท าให้น้ าระเหยออกไป และท าให้อากาศถ่ายเทได้ดี ใน
                   ระยะ 2 สัปดาห์แรก เนื่องจากอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า
                   จุลินทรีย์มีการเจริญเติบโตและท ากิจกรรมในการย่อยสลายวัสดุในกองปุ๋ยหมัก นอกจากนี้การกลับกองปุ๋ย

                   หมักยังช่วยท าให้เศษวัสดุรอบนอกที่ยังไม่ถูกย่อยสลายให้พลิกกลับไว้ในกองปุ๋ยหมัก ในกรณีที่ไม่สามารถ
                   กลับปุ๋ยได้บ่อยๆ รวมทั้งมีน้ าในปริมาณจ ากัด ควรใช้วิธีการกองปุ๋ยแบบไม่ต้องกลับกอง โดยใช้ไม้ไผ่ที่ทะลุ
                   ปล้องมีรูตลอดล า หรือท่อพีวีซีเสียบผ่านเข้าไปในกองปุ๋ย โดยให้มีรูระบายอากาศผ่านเข้าออกภายในกอง
                   ปุ๋ย และใช้ดินคลุมกองโดยให้ไม้ไผ่หรือท่อน้ าโผล่ทะลุหลังจากดินที่ใช้พอกรอบกองปุ๋ยแห้ง ให้ดึงไม้ไผ่หรือ

                   ท่อน้ าออก จะท าให้เกิดช่องระบายอากาศและไม่ต้องรดน้ า แต่ต้องท าให้เศษพืชชุ่มน้ าอย่างเพียงพอใน
                   ขณะที่เริ่มท ากองปุ๋ย (จุฑามาศ,2548)
                          กองปฐพีวิทยา (2540) ได้กล่าวถึงหลักในการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์ ไว้ว่า  โดยทั่วไป

                   มักจะมีปัญหาอยู่เสมอว่าวัสดุเหลือใช้ที่น ามาท าปุ๋ยหมักนั้นย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์พร้อมที่จะใส่ลงในดิน
                   แล้วหรือยัง ข้อก าหนดในการบ่งบอกว่าปุ๋ยหมักเสร็จสมบูรณ์คือ ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของ
                   วัสดุควรมีค่าเท่ากับหรือต่ ากว่า 20:1 ซึ่งค่าของอัตราส่วนสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ระดับ
                   ดังกล่าว เมื่อน าปุ๋ยหมักใส่ลงไปในดินแล้วจะไม่ท าให้เกิดอันตรายต่อพืช ส าหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณา
                   ปุ๋ยหมักที่มีการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วสังเกตได้ดังนี้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53