Page 51 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        44


                          ปุ๋ยที่หมักแล้วเมื่อใช้ไม่หมด สามารถใส่กระสอบเก็บไว้ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดและฝนจะเก็บได้นาน
                   ประมาณ 1 ปี


                   3.4 การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1

                          กรมพัฒนาที่ดิน (2558) ได้กล่าวว่า ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการน าซากหรือเศษ
                   เหลือจากพืชมาหมักรวมกันและผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ จนเปลี่ยนสภาพไปจาก

                   เดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกระด้าง และมีสีน้ าตาลปนด า
                          สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จาก
                   การเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมี
                   คุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลสและแบคทีเรียที่ย่อย
                   ไขมัน

                          จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นจุลินทรีย์ที่ทนอุณหภูมิสูง เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสร้าง
                   สปอร์จึงเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลส ย่อยสลาย
                   น้ ามันไขมันในวัสดุหมักที่ย่อยสลายยาก สามารผลิตปุ๋ยหมักในระยะเวลารวดเร็ว และมีคุณภาพ อีกทั้งยัง

                   สามารถย่อยวัสดุเหลือใช้ได้หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น
                          คุณสมบัติของจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศในกระบวนการ
                   ย่อยสลาย เจริญที่อุณหภูมิ 30 – 35 องศาเซลเซียส ต้องการความชื้นในการเจริญระหว่าง 50 – 70
                   เปอร์เซ็นต์ เจริญได้ดีช่วงค่าความเป็นกรดเป็นด่าง  ระหว่าง 6–8

                          ผลดีของการหมักวัสดุก่อนน าไปใช้ คือ ในการน าเศษพืชหรือมูลสัตว์ชนิดต่างๆ ไปใส่ในดินโดยไม่
                   ผ่านกระบวนการหมักก่อนนั้น มักจะพบปัญหาในเรื่องของเมล็ดวัชพืช รวมถึงจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและ
                   ไข่ของแมลงที่เป็นศัตรูพืชที่ติดปนมา อีกทั้งการน าเศษวัสดุเหล่านั้นใส่ลงในดินโดยตรง จะเกิดความร้อน
                   และมีการดึงไนโตรเจนจากดินไปใช้โดยจุลินทรีย์ในระหว่างการย่อยสลาย ท าให้ดินบริเวณนั้นขาด

                   ไนโตรเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ท าให้พืชชะงักและแสดงอาการใบเหลืองได้
                   ดังนั้นจึงควรน าเศษซากพืชและมูลสัตว์ไปหมักก่อน โดยความร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการย่อย
                   สลายและสะสมอยู่ในกองปุ๋ยหมักต่อเนื่องเป็นเวลานาน
                          ผลดีของการหมักวัสดุก่อนน าไปใช้ คือ ท าลายเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา

                   Helaminthosporium maydis ที่ก่อให้เกิดโรคใบไหม้ของข้าวโพด ท าลายไข่พยาธิและเชื้อแบคทีเรียที่
                   ก่อให้เกิดโรค เช่น เชื้อ Escherichia coil ที่ก่อให้เกิดระบาดทางเดินอาหารตายภายใน 15–20 นาที ที่
                   60 องศาเซลเซียส ส่วน Entamoeba Histolytica ก่อให้เกิดโรค Amabiasis ตาย ที่ 68 องศาเซลเซียส

                   ท าลายไข่ของแมลงศัตรูพืช โดยท าให้ไข่แมลงฝ่อและไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นแมลงต่อได้และยังมีผลต่อ
                   การท าลายเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับเศษพืชได้ด้วยเช่นกัน
                          วัสดุส าหรับผลิตปุ๋ยหมัก ได้แก่
                          วัสดุเศษพืชชนิดต่างๆ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้งส่วนที่เป็นต้น กิ่ง ก้าน ใบ และเปลือกจาก
                   ไร่นา เช่น ฟางและตอซังข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ต้นและเปลือกถั่วชนิดต่างๆ เป็นต้น และวัสดุเหลือ

                   ใช้จากโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น กากอ้อย ขี้ตะกรันหม้อกรอง ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ทะลาย
                   ปาล์ม เปลือกเมล็ดกาแฟ เป็นต้น รวมทั้งวัชพืช เช่น ผักตบชวา
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56