Page 47 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 47
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
40
เหมาะสม ชนิดของวัสดุเหลือทิ้ง และขนาดของกองปุ๋ยหมักด้วย ส าหรับชนิดและลักษณะของวัสดุเศษพืช
นั้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักด้วย โดยวัสดุที่เป็นเส้นขนาดใหญ่ ได้แก่ ฟางข้าว
และผักตบชวา จะมีอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักสูงระหว่าง 45-50 องศาเซลเซียส แต่วัสดุที่มีขนาดเล็ก ได้แก่
ชานอ้อย แกลบ และเศษปอ จะมีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส ส าหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการ
ย่อยสลายโดยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีส อยู่ในช่วง 45-55 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่ามีบทบาทมากในการ
ย่อยสลายสารประกอบพวก Long Chain Polymers ต่างๆ ของสารเซลลูโลสและลิกนิน ในกรณีที่มี
อุณหภูมิสูงเกินไปประมาณ 70 องศาเซลเซียส จะมีผลยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ย ท าให้การ
ย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ลดลงและกิจกรรมของจุลินทรีย์จะลดลงตามไปด้วย ท าให้อุณหภูมิค่อยๆ
ลดลงถึงระดับที่เหมาะสม เชื้อจุลินทรีย์ที่เหลือรอดอยู่จะเริ่มกิจกรรมในการย่อยสลายต่อไป
ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง วัสดุที่มีค่า pH อยู่ในช่วง 3-11 สามารถน ามาท าปุ๋ยหมักได้ แต่
อย่างไรก็ตามค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 5.5-8 เนื่องจากแบคทีเรียชอบ pH ในช่วงที่เป็นกลาง ส่วน
เชื้อราสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างเป็นกรดได้ แต่โดยปกติแล้ว pH เริ่มต้นในการหมักจะ
ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือ อยู่ในช่วงประมาณ 6 ซึ่งถือเป็น pH ที่พบในเซลล์ของพืชเป็นส่วนใหญ่
อัตราส่วนของสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ของวัตถุดิบที่น ามาใช้ท าปุ๋ยหมัก
เป็นค่าที่บ่งบอกความยากหรือง่ายต่อการย่อยสลาย และใช้เป็นตัวก าหนดระดับความเป็นปุ๋ยหมักที่
สมบูรณ์ กล่าวคือ ถ้าวัสดุที่ใช้ท าปุ๋ยหมักมีค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาก ๆ อัตราการย่อย
สลายจะเกิดช้า เนื่องจากความไม่สมดุลของสารประกอบคาร์บอนกับไนโตรเจน ในสภาพเช่นนี้จุลินทรีย์จะ
ใช้สารประกอบคาร์บอนในรูปแบบต่างๆ เป็นแหล่งของพลังงานและแหล่งของคาร์บอนในการเจริญ
ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ก็ต้องใช้สารประกอบไนโตรเจนด้วย แต่สารประกอบไนโตรเจนมีปริมาณน้อย จึง
เป็นปัจจัยที่จ ากัดการเจริญของจุลินทรีย์ท าให้กิจกรรมในการย่อยสลายเกิดขึ้นช้า การใช้วัสดุที่มีค่า
อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีค่าประมาณ 30-35 : 1 ค่อนข้างเหมาะสมต่อการย่อยสลายโดย
จุลินทรีย์ ค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ใช้เป็นตัวก าหนดการเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ คือ 20:1
ซึ่งปุ๋ยหมักดังกล่าวน าไปใส่ในดินจะไม่เกิดผลเสียต่อดินและพืช
จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในการท าปุ๋ยหมัก การหมักปุ๋ยแบบใช้อากาศเป็นกระบวนการซึ่งจุลินทรีย์
หลายชนิดมีบทบาทเกี่ยวข้องร่วมกัน แต่ละชนิดของจุลินทรีย์จะเหมาะกับสภาพแวดล้อมของแต่ละ
ช่วงเวลา และแต่ละเชื้อจะมีกิจกรรมการย่อยสลายในรูปแบบเฉพาะของตัวเอง จากการศึกษาของ
Lardinois และคณะ (1993) พว่า จุลินทรีย์ในกองหมักมูลฝอย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 จ าพวก และ
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแต่ละจ าพวก แสดงในตารางที่ 14
ตารางที่ 14 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
ประเภทจุลินทรีย์ พิสัย อุณหภูมิที่เหมาะสม
(องศาเซลเซียส) (องศาเซลเซียส)
Psychrophilic 0 – 30 15
Mesophilic 20 – 40 32
Thermophilic 40 - 70 55
ที่มา : Lardinois และคณะ (1993)