Page 43 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        36


                          วัสดุเหลือใช้จากบ้านเรือน ในเขตชุมชนที่มีประชากรอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น มักจะมีปัญหาใน
                   ด้านวัสดุเหลือใช้ ซึ่งได้แก่ ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากบ้านเรือน ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น

                   แนวทางหนึ่งที่สามารถน าขยะเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ คือ การน ามาท าปุ๋ยหมักซึ่งเรียกว่า ปุ๋ย
                   อินทรีย์ ในเขตกรุงเทพมหานครได้น าแนวทางนี้ไปใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์มานานแล้ว แต่มีปัญหาอยู่บ้างในการ
                   วัสดุที่ปะปนมา เช่น เศษแก้ว เศษโลหะ และเศษพลาสติก ปัจจุบันก าลังผลิตปุ๋ยอินทรีย์กรุงเทพมหานคร
                   ไม่สามารถที่จะรองรับทันต่อปริมาณของขยะที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จึงเหลือขยะอยู่มาก และเป็นตัวการส าคัญที่

                   ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและแหล่งก่อก าเนิดพาหะน าโรคมาสู่คน ดังนั้นการท าปุ๋ยหมักโดยใช้เศษ
                   ขยะจากครัวเรือนรวมทั้งใบไม้ เศษหญ้า และมูลสัตว์เลี้ยงมาเป็นวัสดุท าปุ๋ยหมัก นอกจากจะได้ปุ๋ยหมักไว้
                   ใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษด้วย

                          วัสดุอื่นๆ และวัชพืช วัชพืชบกและวัชพืชน้ าหลายชนิดที่สามารถน ามาท าปุ๋ยหมัก เช่น หญ้ายาง
                   หญ้าดอกขาว ต้นกกชนิดต่างๆ สะเดาดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักตบชวาที่เป็นปัญหาในการก าจัดอยู่ขณะนี้
                   ซึ่งเป็นวัชพืชที่เจริญได้อย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย การน าผักตบชวามาท าปุ๋ยหมักจึง
                   เป็นแนวทางการก าจัดที่ดี โดยเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ยหมักที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงดินและยังช่วยท าลาย
                   แหล่งของศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยรัฐบาลให้ประหยัดงบประมาณที่จะใช้ในการก าจัดได้

                          จากวัสดุที่ใช้ท าปุ๋ยหมักดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเศษซากพืช วัสดุอินทรีย์และมูลสัตว์ต่างๆ ซึ่งมีทั้ง
                   วัตถุดิบที่สลายตัวง่าย และวัตถุดิบที่สลายตัวยาก มีปริมาณธาตุอาหารมากน้อยแตกต่างกัน ดังแสดงใน
                   ตารางที่ 13

                   ตารางที่ 13 ปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และอัตราส่วนคาร์บอนต่อ

                                  ไนโตรเจน (C/N) โดยเฉลี่ยของวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ

                    วัสดุอินทรีย์    คาร์บอน      ไนโตรเจน    ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม          C/N
                                    (เปอร์เซ็นต์)  (เปอร์เซ็นต์)  (เปอร์เซ็นต์)  (เปอร์เซ็นต์)   (เปอร์เซ็นต์)
                    ฟางข้าว           38.57         0.84         0.22        1.58            59
                    แกลบ              48.46         0.84         0.22        1.58            97

                    ขุยมะพร้าว        64.21         0.38         0.07        1.34           185
                    ตอซังข้าวโพด      26.27         0.88         0.28        0.56            37
                    ซังข้าวโพด        44.60         0.64         0.21        0.75           112

                    ทลายปาล์ม         50.60         0.92         0.10        1.00            55
                    กากอ้อย           52.77         1.40         0.81        0.20           132
                    เปลือกสับปะรด     49.46         0.99         0.22        1.73            50
                    ใบสับปะรด         50.32         1.00         0.23        1.50            54

                   ที่มา : จุฑามาศ (2548)

                          ประกาศิต (2549)  ได้กล่าวถึง ปัจจัยที่ควบคุมอัตราการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมัก ไว้ดังนี้

                   กระบวนการย่อยสลายเศษพืชภายในกองปุ๋ยหมักนั้น เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพของ
                   การย่อยสลายวัสดุเศษพืชนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยของสภาพแวดล้อมในกองปุ๋ยหมักหลายประการ ปัจจัยต่างๆ
                   ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายนั้น อาจส่งเสริมหรือลดอัตราย่อยสลายของวัสดุได้ แต่โดยจุดมุ่งหมายหลักได้

                   เน้นถึงคุณสมบัติของวัสดุเศษพืชและหลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มอัตราการย่อยสลายในระหว่างการ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48