Page 45 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        38


                          ปุ๋ยเคมี เศษพืชประเภทที่สลายตัวได้ยากจะมีแร่ธาตุอาหารอยู่น้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ
                   ของจุลินทรีย์ แร่ธาตุตัวส าคัญที่ปกติมักจะขาดแคลนมากที่สุดในเศษพืชพวกนี้ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ดังนั้น

                   จึงเน้นเฉพาะการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย ซัลเฟต ปุ๋ยยูเรีย ส าหรับแร่ธาตุอื่นๆ
                   นอกเหนือไปจากไนโตรเจนนั้น ปกติเศษพืชจะมีอยู่มากพอสมควร แม้ว่าจะไม่ค่อยเพียงพอ แต่การใส่แร่
                   ธาตุเหล่านั้นเพิ่มเติมลงไป ก็มักไม่ท าให้เศษพืชสลายตัวได้รวดเร็วขึ้นเท่าใดนัก ปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจนที่
                   ต้องใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่น ามาหมัก ถ้าเป็นพวกที่ย่อยสลายได้ง่าย ก็ไม่จ าเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีลงไป

                   อีก หรืออาจใส่ในปริมาณเล็กน้อยเพียงเสริมหรือกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เท่านั้น  หรือถ้าเป็น
                   เศษพืชที่ย่อยสลายได้ยาก ก็ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนด้วย ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในกรณีที่เป็นเศษพืช
                   พวกที่สลายตัวได้ยากนั้น อาจประมาณได้ว่าถ้าใช้ปุ๋ยยูเรีย ควรใส่ในอัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัมต่อขนาดของ

                   กองที่เสร็จแล้ว 2 ลูกบาศก์เมตร หรือถ้าเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตก็ใช้ประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อกองปุ๋ย
                   ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร
                          การระบายอากาศของปุ๋ย ในการตั้งกองปุ๋ยหมักนั้นจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องค านึงถึงสภาพการระบาย
                   อากาศภายในกองปุ๋ย เพราะถ้าไม่มีอากาศให้จุลินทรีย์ใช้หายใจแล้ว การย่อยสลายของกองปุ๋ยหมักจะ
                   เปลี่ยนไปเป็นการย่อยสลายแบบอับอากาศ ท าให้การสลายตัวเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และมักเกิดกลิ่นเหม็น

                   ความร้อนที่จะช่วยก าจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ในกองปุ๋ยก็ไม่เกิดขึ้น ลักษณะเช่นนี้ พบได้เสมอกับกองปุ๋ยที่แน่น
                   ทึบหรือรดน้ าจนเปียกแฉะ ถ้าหากหมักเศษพืชในสภาพนี้ จะใช้เวลานาน ถ้าต้องการให้เศษพืชสลายตัว
                   อย่างรวดเร็ว ไม่มีกลิ่นเหม็นและเกิดความร้อนในกองปุ๋ยมากพอที่จะก าจัดเชื้อโรค เมล็ดวัชพืช ตัวอ่อน

                   หรือไข่แมลงวันที่มีอยู่แล้วจ าเป็นต้องปฏิบัติดูแลรักษาให้กองปุ๋ยมีสภาพการระบายอากาศภายในกองปุ๋ยที่
                   ดีอยู่เสมอ
                          ขนาดของกองปุ๋ย ไม่ควรตั้งกองปุ๋ยให้สูงมากนัก ถ้ากองปุ๋ยสูงมากส่วนล่างของกองจะถูกน้ าหนัก
                   จากส่วนบนกดทับ ท าให้อัดตัวแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศษพืชสลายตัวไประยะหนึ่งแล้ว จะมีเนื้อ

                   ละเอียดขึ้น กองปุ๋ยจะยุบตัวลง เนื้อปุ๋ยด้านล่างของกองก็ถูกกดจนแน่นทึบไม่สามารถระบายอากาศได้
                   ความสูงของกองปุ๋ยที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 1.5 -1.8 เมตร ความกว้างของกองปุ๋ยก็ไม่ควรมากจนเกินไป
                   เพราะมีผลกระทบต่อการระบายของอากาศด้านข้างของกองปุ๋ยเช่นกัน ถ้ากว้างมากเกินไปการกลับกอง
                   ปุ๋ยอาจท าได้ไม่สะดวก ปกติควรกว้างประมาณ 2-3 เมตร ในทางตรงกันข้าม กองปุ๋ยไม่ควรเตี้ยหรือแคบ

                   เกินไป เพราะจะท าให้ความร้อนที่เกิดขึ้นกระจายออกไปได้ง่าย ควรมีด้านกว้าง ยาว และสูง ด้านละไม่ต่ า
                   กว่า 1 เมตร
                          การรดน้ าของปุ๋ยขณะตั้งกองปุ๋ยหมัก จะต้องรดน้ าจนเศษพืชชื้นพอที่จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้
                   และต้องไม่รดมากเกินไปจนกระทั่งการระบายอากาศของกองปุ๋ยไม่ดี ถ้าเศษพืชนั้นแห้ง และมีขนาดใหญ่

                   เช่น ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เศษวัชพืชแห้ง ไม่ควรมีปัญหาเรื่องการระบายอากาศในกองปุ๋ย แต่อาจจะมี
                   ปัญหาเรื่องเศษพืชมีขนาดเล็ก จะดูดซับน้ าได้ดี เช่น ชานอ้อย ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว กากตะกอนน้ าเสีย กาก
                   ส่าเหล้า ต้องรดน้ าเล็กน้อยแค่ท าให้วัสดุเหล่านั้นเปียกชื้นเสมอเท่านั้น อย่าให้แฉะ ขณะรดน้ าควร

                   หลีกเลี่ยงการขึ้นไปเหยียบย่ าบนกองวัสดุ เพราะจะท าให้กองปุ๋ยแน่นทึบเกินไป เชื้อจุลินทรีย์จะเจริญไม่ได้
                   ดีเท่าที่ควร ในกรณีของเศษพืชที่อวบน้ า เช่น ผักตบชวา หลังจากน าขึ้นมาจากน้ า จะอมน้ าไว้มาก ถ้า
                   น ามากองปุ๋ยทันทีจะอัดตัวกันแน่น ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เหี่ยวพอสมควร แล้วค่อยน าไปกอง จะช่วยให้กอง
                   ปุ๋ยมีการระบายอากาศดีขึ้น
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50