Page 46 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        39


                          การระบายอากาศ ถ้าวัสดุมีขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อกองปุ๋ยไปแล้วระยะหนึ่งกองปุ๋ยจะมีลักษณะ
                   ค่อนข้างทึบ หรือเมื่อหมักเศษพืชไประยะหนึ่งแล้วเห็นว่าเศษพืชอัดตัวกันแน่นมากขึ้น เกรงว่าการระบาย

                   อากาศภายในกองปุ๋ยไม่เพียงพอ ก็อาจช่วยระบายอากาศในกองปุ๋ยได้โดยวิธีง่ายๆ คือ เมื่อเริ่มตั้งกองปุ๋ย
                   ใหม่หลังจากการกลับกอง ก็หาไม้ไผ่หรือท่อพีวีซีมาหลายๆ ล า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-6 นิ้ว
                   มาปักตั้งไว้บนพื้นดินที่จะตั้งกองปุ๋ยโดยกะว่าเมื่อตั้งกองไปแล้ว ล าไผ่จะกระจายอยู่ทั่วๆ กอง แล้วจึงท า
                   การตั้งกองปุ๋ย  เมื่อตั้งกองปุ๋ยเรียบร้อยแล้วก็ถอนล าไผ่ออก กองปุ๋ยก็จะมีช่องระบายอากาศตามที่ต้องการ

                   ก่อนถอนล าไม้ไผ่ควรโยกไม้ไปมารอบๆ จะท าให้ช่องระบายอากาศคงรูปได้ดีขึ้น ไม่ยุบตัว ควรท าช่อง
                   ระบายอากาศเช่นนี้ทุกครั้งที่มีการกลับกองปุ๋ย
                          การกลับกองปุ๋ย หลังจากตั้งกองปุ๋ยไประยะหนึ่งแล้ว ควรกลับกองปุ๋ยโดยการคุ้ยกองลงมาทั้งหมด

                   เกลี่ยผสมคลุกเคล้ากัน แล้วน าวัสดุทั้งหมดกลับตั้งเป็นกองใหม่ในรูปทรงเดิม โดยพยายามกลับเอาเศษพืช
                   ที่เคยอยู่ด้านนอกของกองให้กลับเข้าไปอยู่ด้านในกอง การกลับกองปุ๋ยจะท าให้สภาพของกองปุ๋ยโปร่งขึ้น
                   การระบายอากาศดีขึ้น รวมทั้งเป็นการหมุนเวียนเอาวัสดุด้านนอกของกองที่ยังไม่สลายตัวให้เข้าไปรับ
                   ความร้อนภายในกอง และช่วยก าจัดหนอน ตัวอ่อนของแมลงวันที่อาจเกิดขึ้นบริเวณขอบนอกของกอง
                   ขณะเดียวกันก็เป็นการผสมคลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากัน มีความชื้นสม่ าเสมอทั้งกอง  การกลับกองมี

                   ความส าคัญมากต่อการแปรสภาพของกองปุ๋ย ยิ่งสามารถกลับกองได้บ่อยครั้งจะยิ่งช่วยให้เศษพืชแปร
                   สภาพไปเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น เช่น การกลับกองทุกๆ 3-5 วัน หรือทุกสัปดาห์ จะท าให้เศษซากพืช
                   สลายตัวได้รวดเร็ว แต่การกลับกองเป็นขั้นตอนที่สิ้นเปลืองแรงงานอย่างมาก ถ้าไม่มีความจ าเป็นต้องรีบใช้

                   ปุ๋ยหมัก ก็สามารถลดจ านวนครั้งในการกลับกองปุ๋ยลงได้ตามเวลา หรือแรงงานที่มีอยู่ แต่อย่างน้อยที่สุดก็
                   ควรจะมีการกลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง คือ กลับกองครั้งแรกประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มตั้งกองปุ๋ย ครั้ง
                   ที่สองประมาณ 15 วัน หลังจากกลับกองครั้งแรก จากนั้นก็อาจกลับกองทุกๆ 20 วันจนสามารถน าไปใช้ได้
                          ความชื้นของกองปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ให้กลายเป็นปุ๋ยนั้นต้องอาศัยน้ าหรือ

                   ความชื้นในการด ารงชีพ วัสดุที่น ามากองจึงต้องเปียกชื้น การรดน้ าต้องระมัดระวังพอสมควร คือ รดน้ าแค่
                   พอให้เศษพืชในกองเปียกชื้นพอสมควร ไม่ให้แฉะ ส่วนใหญ่แล้วเศษพืชไม่ค่อยดูดซับน้ า จึงอาจต้องรดน้ า
                   ให้มากเป็นพิเศษในวันแรก จากนั้นก็เพียงคอยตรวจตราเป็นระยะๆ ดูแลให้กองปุ๋ยชื้นอยู่เสมอ ความชื้นที่
                   พอดีของกองปุ๋ยอยู่ในช่วงร้อยละ 40 – 60 โดยน้ าหนัก ประมาณคร่าวๆ ได้โดยวิธีใช้มือหยิบเอาเศษพืชใน

                   กองออกมา แล้วก าบีบให้แน่น ถ้ามีน้ าไหลซึมออกมากตามซอกนิ้วไหลเป็นทาง แสดงว่ากองปุ๋ยหมักแฉะ
                   เกินไป ไม่ควรรดน้ า แต่ควรท าการกลับกองปุ๋ยบ่อยขึ้น ถ้าบีบแล้วน้ าซึมออกมาตามซอกนิ้ว แต่ไม่ถึงกับ
                   ไหลเป็นทางแสดงว่าความชื้นพอดีแล้ว แต่เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ าซึมออกมาเลย แสดงว่าเศษพืชนั้นแห้งเกินไป
                   ต้องรดน้ าเพิ่มเติม

                          อุณหภูมิ หลังจากกองปุ๋ยหมักแล้วประมาณ 2-4 วัน อุณหภูมิภายในจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
                   จนถึง 50-60 องศาเซลเซียส เนื่องจากพลังงานความร้อนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากกระบวนการย่อย
                   สลาย และคุณสมบัติการเก็บความร้อนของวัสดุที่เป็นสารอินทรีย์ท าให้ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่ค่อย

                   แพร่กระจายออกจากกองปุ๋ยหมัก การที่อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว ท าให้สภาพแวดล้อมใน
                   กองปุ๋ยเปลี่ยนแปลงไป ชนิดของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ก็เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน  ในขณะที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
                   เรื่อยๆ พบว่า จุลินทรีย์ที่มีบทบาทส าคัญได้แก่ พวกที่ทนต่ออุณหภูมิสูง และพวกที่ชอบอุณหภูมิสูง
                   หลังจากที่อุณหภูมิสูงสุดแล้วจะค่อยๆ ลดลง จนถึงที่ระดับจุลินทรีย์พวกที่ชอบอุณหภูมิปานกลางสามารถ
                   เจริญเติบโตและเพิ่มจ านวนมากขึ้น ระดับของอุณหภูมิในกองปุ๋ยจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51