Page 50 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 50
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
43
ตารางที่ 15 ปริมาณแร่ธาตุที่ส าคัญในปุ๋ยหมัก
สารอาหาร ระดับที่พบต่ าที่สุด (ร้อยละ)
ไนโตรเจน 0.06
ฟอสฟอรัส 0.50
โพแทสเซียม 0.30
แคลเซียมออกไซด์ 2.00
แคลเซียมคาร์บอเนต 3.05
แมกนีเซียมออกไซด์ 0.30
ที่มา : อรลัดดา (2537)
3.3.5 การใช้ปุ๋ย
กองปฐพีวิทยา (2540) ได้กล่าวไว้ว่า การใช้ปุ๋ยหมักกับพืชไร่นั้น ควรใส่ปริมาณเท่าที่สามารถ
จัดหาเองได้ การใส่ในปริมาณมากๆ อาจจะไม่คุ้มทุน เนื่องจากราคาปุ๋ยหมักหรือแม้แต่ปุ๋ยมูลสัตว์มีราคา
ค่อนข้างแพง ส่วนราคาผลผลิตพืชไร่นั้นอยู่ในระดับต่ า การใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์กับพืชไร่ควรใช้กับดิน
ที่มีปัญหา เช่น ดินจอมปลวก ดินเกลือ หรือดินที่ได้มีการปรับหน้าดินไปที่อื่น การปลูกพืชหมุนเวียนกับพืช
ตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วมะแฮะ จะเหมาะสมกว่าปลูกพืชเดียวติดต่อกัน การปลูกพืชตระกูล
ถั่วเป็นปุ๋ยพืชสดแล้วไถกลบลงไปในดินในไร่ จะสามารถช่วยเพิ่มไนโตรเจนแก่ดินอย่างน้อย 5-10 กิโลกรัม
ไนโตรเจนต่อไร่ การปลูกพืชปุ๋ยสดควรจะปลูกก่อนพืชไร่ (พืชหลัก) แล้วท าการไถกลบเมื่อมีอายุได้ 50-60
วัน ก่อนปลูกพืชหลักอย่างน้อย 10-15 วัน ปอเทือง ถั่วพุ่มและถั่วพร้า เหมาะที่จะปลูกในดินทราย ดิน
เหนียวหรือดินร่วนเหนียว
นอกจากใช้ปุ๋ยพืชสดแล้ว เศษซากพืช เช่น ตอซังข้าวโพด ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง และถั่วเหลือง ที่เหลือ
ทิ้งอยู่ในแปลง ควรไถกลบลงในดินหรือปล่อยคลุมดินไว้ ตามเดิม จะมีคุณค่ามากกว่าเผาทิ้ง อย่างไรก็ดีมี
ข้อควรระวังในการไถกลบตอซังพืช ถ้ามีปริมาณมากเกินไปและต้องการปลูกพืชตามทันทีควรเพิ่มปุ๋ย
ไนโตรเจนในอัตรา 5-10 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ กับพืชที่ปลูก ทั้งนี้เพราะตอซังเหล่านี้มีปริมาณ
ไนโตรเจนต่ า และมีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนมากกว่า 40 หรือมีไนโตรเจนต่ ากว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์
ในระหว่างขบวนการย่อยสลายตัวของเศษซากพืชเหล่านี้ไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่มีอยู่แล้วในดิน
จะถูกจุลินทรีย์ที่อาศัยในดินแย่งน าไปใช้ในกระบวนการสลายตัว เป็นผลให้พืชได้รับไนโตรเจนไม่เพียงพอ
และจะแสดงอาการเหลืองซีด แต่ไถกลบก่อนปลูก 15 วัน ก็ไม่มีปัญหา เพราะไนโตรเจนในรูปที่เป็น
ประโยชน์ต่อพืชถูกปลดปล่อยออกมาจากกระบวนการสลายตัวของตอซังพืชแล้ว
ไม้ผล ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกไม้ผลอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม ขึ้นอยู่กับขนาดของหลุมปลูก และ
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งใช้หว่านใส่เพิ่มการเจริญเติบโตให้กับไม้ผล อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อตาราง
เมตรต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดทรงพุ่มไม้ผล
พืชผัก ใช้ปุ๋ยหมักผสมดินในช่วงเตรียมแปลงปลูกพืชผัก อัตราปุ๋ยหมัก 1-2 กิโลกรัมต่อตาราง
เมตร ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกพืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น
กะหล่ าปลี แตงกวา ฟักทอง ฯลฯ ประมาณ 1 ก ามือต่อหลุม รวมทั้งใช้ใส่เพิ่มความเจริญเติบโตให้กับ
พืชผักที่ปลูกในแปลง