Page 53 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        46


                          คุณสมบัติของปุ๋ยหมัก ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ไม่เกิน 20 : 1 ปริมาณ
                   อินทรียวัตถุอยู่ระหว่าง 25-50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก  เกรดปุ๋ยไม่ต่ ากว่า 0.5-1.0 เปอร์เซ็นต์ของ

                   ไนโตรเจน(N) , ฟอสเฟต(P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ความชื้นของปุ๋ยหมักไม่เกิน 30-40 เปอร์เซ็นต์
                   โดยน้ าหนัก ค่าการน าไฟฟ้าไม่เกิน 3.5 เดซิซีเมนต่อเมตร ความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-7.5  ไม่มี
                   วัสดุอื่นเจือปน
                          อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักส่วนใหญ่จะมีปริมาณธาตุอาหารพืชค่อนข้างต่ า แต่มีบทบาท

                   มากในการปรับปรุงคุณภาพของดิน อัตราการใส่ปุ๋ยหมักในดินที่เป็นดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                   โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะใช้ในปริมาณที่สูงกว่าในดินเหนียวหรือดินร่วนปนทรายที่มี
                   ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางทางภาคเหนือและภาคกลาง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยหมักเพื่อให้

                   เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพืชที่ปลูก ควรใส่ปุ๋ยหมักในช่วงเตรียมดิน และไถกลบลงไปในดินขณะที่ดินมี
                   ความชื้นเพียงพอที่จะท าให้ธาตุอาหารที่มีอยู่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูงสุด อัตราแนะน าและวิธีการใส่ปุ๋ย
                   ส าหรับพืชชนิดต่างๆนั้น มีดังนี้ ข้าว ใช้ 2 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถกลบก่อนปลูกพืช  พืชไร่ ใช้ 2
                   ตันต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน พืชผัก  ใช้ 4 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลง ไถ
                   กลบขณะเตรียมดิน ไม้ผล ไม้ยืนต้น  เตรียมหลุมปลูกใช้ 20 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้าปุ๋ยหมักกับดิน ใส่

                   ร่องก้นหลุม   ต้นพืชที่เจริญแล้ว  ใช้ 20-50 กิโลกรัมต่อต้น โดยขุดร่องลึก 10 เซนติเมตร ตามแนวทรงพุ่ม
                   ของต้นใส่ปุ๋ยหมักในร่องและกลบด้วยดินหรือหว่านให้ทั่วภายในทรงพุ่ม ไม้ตัดดอก  ใส่ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่
                   ไม้ดอกยืนต้นใช้ 5-10 กิโลกรัมต่อหลุม

                          ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก คือ ปรับปรุงสมบัติกายภาพของดิน ท าให้ดินร่วนซุยการระบายอากาศและ
                   อุ้มน้ าของดินดีขึ้น  เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุดูดยึดและ
                   เป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อยอกมาให้พืชใช้ประโยชน์ที
                   ละน้อยตลอดฤดูปลูก เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพิ่มแหล่ง

                   อาหารของจุลินทรีย์ ท าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น

                   3.5 มาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่รับรองโดยกรมพัฒนาที่ดิน
                          ปัจจุบันความสนใจในเรื่องความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารมีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากพิษ

                   ภัยของการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพใน
                   การด ารงชีวิตของมนุษย์ และจากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยทางอาหาร
                   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ประกอบสินค้า
                   เกษตรและอาหาร ผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สามารถแข่งขันในตลาดโลก เพื่อน า

                   ไทยไปสู่ครัวโลก
                          กรมพัฒนาที่ดิน ได้ด าเนินงานสนองนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาโดยตลอด โดย
                   การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นฐานการผลิตที่ปลอดภัยและมั่นคงของ

                   ประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของการรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกร ได้ตระหนักถึงการใช้ปัจจัยการผลิตทาง
                   การเกษตร เช่น ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงบ ารุงดิน ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานและความ
                   ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงการปนเปื้อนของจุลินทรีย์หรือสารพิษในวัตถุดิบ จากสารเคมีที่ใช้ในการผลิต
                   เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ น ามาสู่การลดต้นทุนเพิ่ม
                   ขีดความสามารถในการแข่งขัน  และผลิตสินค้าเกษตรแต่ละชนิดได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58