Page 52 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 52

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        45


                          มูลสัตว์ ใช้เป็นแหล่งอาหารแก่จุลินทรีย์ในระยะเริ่มแรกของการหมักในขณะที่ชิ้นส่วนพืชยังไม่เน่า
                   เปื่อย อีกทั้งในมูลสัตว์ยังมีจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการหมักปุ๋ยอยู่เป็นจ านวนมาก โดยเฉพาะในมูลสัตว์

                   เคี้ยวเอื้อง
                          ปุ๋ยไนโตรเจน จะเป็นธาตุอาหารไนโตรเจนให้แก่จุลินทรีย์ในระยะเริ่มแรกของการหมักซึ่งจะช่วย
                   ให้การย่อยสลายเศษพืชเกิดรวดเร็วขึ้นและท าให้การหมักเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น ใช้ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ย
                   แอมโมเนียมซัลเฟต นอกจากแหล่งของปุ๋ยเคมีไนโตรเจนแล้ว แหล่งไนโตรเจนในรูปของสารอินทรีย์ที่

                   สามารถใช้แทนได้ เช่น เลือดแห้ง หนังสัตว์บดละเอียด ขนไก่ป่น ซึ่งมีปริมาณไนโตรเจนระหว่าง 1–14
                   เปอร์เซ็นต์ กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง มีไนโตรเจน 7–8 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
                          จุลินทรีย์ กระบวนการย่อยเศษพืชเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมของจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย

                   สารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงจนกระทั่งเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ า ความร้อน และ
                   สารประกอบฮิวมัส เมื่อกระบวนการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์จะได้สารประกอบที่มีความคงทนที่เรียกว่า
                   “ปุ๋ยหมัก” กระบวนการย่อยสลายในกองปุ๋ยแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะอุณหภูมิปานกลาง
                   (mesophilic phase) ช่วง 30–40 องศาเซลเซียส เกิดขึ้นในช่วงแรกของการย่อยสลาย ระยะอุณหภูมิสูง
                   (thermophilic phase) เกิดขึ้นในช่วงที่มีการย่อยสลายอย่างต่อเนื่องโดยอุณหภูมิจะเพิ่งสูงขึ้นถึง 45–60

                   องศาเซลเซียส หรือมากกว่านี้ เป็นช่วงที่เกิดการย่อยสลายสูงสุดจนท าให้เกิดความร้อนสะสมในกองปุ๋ย
                   หมักและระยะอุณหภูมิลดลง (maturation phase) เป็นช่วงที่อัตราการย่อยสลายลดลงจนกระทั่ง
                   อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง และลดลงอย่างช้าๆ ช่วงนี้เป็นระยะที่ใกล้จะเสร็จสิ้นการย่อยสลายแล้ว

                          วิธีการกองปุ๋ยหมัก  การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน จะมีขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5
                   เมตร การกองมี 2 วิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึงกองเป็น
                   รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนวัสดุที่มีชิ้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้นๆ ประมาณ 3–4 ชั้น โดยเป็นส่วนผสมที่จะกอง
                   ออกเป็น 3–4 ส่วน ตามจ านวนชั้นที่จะกอง มีวิธีการกองดังนี้ ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ า 20 ลิตร

                   นาน 10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมจากย่อย
                   สลาย การกองชั้นแรกให้น าวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้นมีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง
                   30-40 เซนติเมตร ย่ าให้พอแน่นและรดน้ าให้ชุ่ม น ามูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืชให้ทั่ว โรยปุ๋ยไนโตรเจนให้
                   ทับชั้นบนของมูลสัตว์ แล้วราดสารละลายสารเร่งให้ทั่ว โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆหลังจากนั้นน าเศษพืชมากอง

                   ทับเพื่อท าชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนการกองชั้นแรก ท าเช่นนี้อีก 2-3 ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ยควรปิดทับ
                   ด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น
                          การปฏิบัติและการดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก หลังจากกองปุ๋ยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ท าการดูแลรักษา
                   รดน้ ารักษาความชื้นในกองปุ๋ย รดน้ าให้กองปุ๋ยชุ่มอยู่เสมอ ให้มีความชื้นประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์โดย

                   น้ าหนัก  การกลับกองปุ๋ยหมัก ควรกลับกองปุ๋ยประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง เพื่อเป็นการระบายอากาศเพิ่ม
                   อกซิเจนให้กับกองปุ๋ย และช่วยให้วัสดุคลุกเคล้าเข้ากัน การเก็บรักษากองปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วไว้ในโรงเรือน
                   หลบแดดและฝน

                          หลักการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว  คือ สีของเศษวัสดุพืช มีสีน้ าตาลเข้มจนถึงด า
                   ลักษณะของวัสดุเศษพืช มีลักษณะอ่อนนุ่ม ยุ่ย ขาดออกจากกันได้ง่าย  กลิ่นของวัสดุปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะ
                   ไม่มีกลิ่นเหม็น  ความร้อนในกองปุ๋ย อุณหภูมิภายในและนอกกองปุ๋ยใกล้เคียงกันสังเกตเห็นการเจริญของ
                   พืชบนกองปุ๋ยหมัก ค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับหรือต่ ากว่า 20 : 1
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57