Page 44 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
37
ผลิตปุ๋ยหมักเป็นประการส าคัญ ดังนั้น สภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในกองปุ๋ยหมักจึงเป็นปัจจัยส าคัญในการ
ควบคุมกิจกรรมของจุลินทรีย์และมีผลต่อไปถึงอัตราย่อยสลายด้วย ส าหรับปัจจัยสภาพแวดล้อมดังกล่าว
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการย่อยสลายวัสดุเศษพืชในกองปุ๋ยหมักสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ลักษณะของเศษวัสดุ ได้แก่ ชนิดของเศษวัสดุ วัสดุที่สามารถน ามาท าปุ๋ยหมักมีหลายประเภท แต่
ละปีจะมีปริมาณมากมาย วัสดุเหล่านี้บางชนิดก็ย่อยสลายได้ง่าย รวดเร็ว บางชนิดก็ย่อยสลายได้ช้า ขึ้นอยู่
กับเนื้อของวัสดุเหล่านั้น ว่ามีส่วนจุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร ได้ยากหรือง่าย และมีแร่ธาตุอยู่เพียงพอกับความ
ต้องการของจุลินทรีย์หรือไม่ ดังนั้นจึงอาจแบ่งวัสดุเหล่านี้ออกเป็น 2 พวก คือ (1) เศษพืชสลายตัวง่าย
เช่น ผักตบชวา ต้นกล้วย ใบตอง เศษหญ้าสด เศษพืชที่อวบน้ า เศษผัก กากเมล็ดข้าวฟ่าง พืชวงศ์ถั่วต่างๆ
เป็นต้น (2) เศษพืชสลายตัวได้ยาก เช่น ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ต้นข้าวโพด ซัง
ข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง เป็นต้น ขนาดของเศษพืช ก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความส าคัญ ถ้าเศษพืชที่น ามาหมักมี
ขนาดใหญ่เกินไป ภายในกองจะมีช่องว่างอยู่มาก กองปุ๋ยจะแห้งได้ง่าย ความร้อนที่เกิดขึ้นในกองปุ๋ย
กระจายหายไปอย่างรวดเร็ว ท าให้กองปุ๋ยไม่ร้อนเท่าที่ควร การย่อยสลายพืชจะช้า ศัตรูต่างๆ ที่ติดมาก็ไม่
ถูกท าลายไป ดังนั้นควรสับหรือหั่นให้มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 นิ้ว จะท าให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตใน
ชิ้นส่วนพืชได้ทั่วถึง เมื่อเศษพืชอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น การแพร่ขยายของจุลินทรีย์ก็เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
และกองปุ๋ยจะระอุดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการท าปุ๋ยหมักเป็นปริมาณมาก การหั่นหรือสับเศษพืชก็เป็นไป
อย่างสิ้นเปลืองแรงงานมาก อาจเปลี่ยนไปใช้วิธีการอื่นได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้ามีรถแทรกเตอร์ก็โรย
ชิ้นส่วนพืชลงบนพื้นแข็ง แล้วใช้รถบดทับไปมา หรือใช้วิธีหาเศษพืชขนาดเล็ก เช่น เศษหญ้าผสมคลุกเคล้า
เข้าไปในกอง เพื่อลดช่องว่างที่มีอยู่ แต่ถ้ามีเศษหญ้าไม่พอ ก็อาจใช้ดินหรือเลี่ยงไปใช้วิธีกองปุ๋ยหมักใน
หลุมหรือบ่อหมักแทน ความสดของพืช โดยปกติจะท าปุ๋ยหมักจากเศษพืชที่แห้ง เนื่องจากความสะดวกใน
การกองและการควบคุมสภาพแวดล้อม ภายในกองปุ๋ยหมักในด้านความชื้นและการระบายอากาศ ในบาง
กรณีอาจใช้เศษพืชสด ซึ่งก็สามารถน ามาท าปุ๋ยหมักได้ แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้น เพราะการใช้
เศษพืชสด จะมีปริมาณน้ ามากและการระบายอากาศไม่ดี อาจเกิดกระบวนการเน่าเสียภายในกองปุ๋ยจน
เกิดกลิ่นเหม็นได้ ดังนั้นในกรณีที่เป็นเศษวัสดุพืชสด เช่น ผักตบชวา อาจจะน าผักตบชวานั้นมากองตาก
แดดประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้น้ าระเหยออกจากวัสดุ ผักตบชวามาผสมกับวัสดุอื่นๆ เช่น ฟางข้าว ใน
ระหว่างการท าปุ๋ยหมักซึ่งจะเป็นการลดความชื้นให้กับกองปุ๋ยหมักด้วย
มูลสัตว์ ในการตั้งกองปุ๋ยหมักนั้น ถ้าใส่มูลสัตว์ต่างๆ เช่น มูลวัว สุกร เป็ด ไก่ ผสมคลุกเคล้าลงไป
ด้วยแล้ว กองปุ๋ยหมักจะร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดการย่อยสลายได้ดีกว่าการใช้เศษพืชอย่างเดียว ทั้งนี้
เพราะมูลสัตว์มีสารประกอบและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิด จึงเป็นการ
เร่งให้จุลินทรีย์ย่อยเศษพืชได้อย่างรวดเร็ว และมูลสัตว์มีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีความสามารถย่อยเศษพืช
ได้ดีอย่างมากมายด้วย จึงเป็นการใส่เชื้อจุลินทรีย์เป็นจ านวนมากลงไปในกองปุ๋ยนั่นเอง จุลินทรีย์เหล่านี้
จะไปสมทบกับจุลินทรีย์ที่ติดมากับเศษพืช ช่วยย่อยและแปรสภาพเศษพืชให้กลายเป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น
ปริมาณมูลสัตว์ที่ต้องใช้ในการท าปุ๋ยหมักนั้นไม่คงที่ตายตัว ถ้ามีมากก็ใส่มากตามที่ต้องการ เพราะถ้ายิ่งใส่
มากก็ยิ่งเป็นการเร่งให้เศษพืชแปรสภาพได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ควรใส่น้อยกว่า 1 ส่วนต่อพืช 10 ส่วน
ถ้ามีมูลสัตว์น้อยกว่านี้ และเศษพืชที่ใช้เป็นเศษพืชที่สลายตัวได้ยาก ก็ควรหาวัสดุอื่นๆที่มีไนโตรเจนมากๆ
เช่นปุ๋ยเคมีมาเสริมแทนได้