Page 49 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        42


                          สีของวัสดุเศษพืช หลังจากเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์จะมีสีน้ าตาลเข้มจนถึงด า โดยปกติเมื่อใช้เศษพืช
                   ในการท าปุ๋ยหมักจะเห็นความแตกต่างของสีอย่างชัดเจน

                          ลักษณะของวัสดุเศษพืช ที่เป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม ยุ่ย และขาดออกจากกันได้
                   ง่าย ไม่แข็งกระด้างเหมือนวัสดุเริ่มแรก
                          กลิ่นของวัสดุปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะไม่มีกลิ่นเหม็น ในกรณีที่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน แสดงว่า
                   กระบวนการย่อยสลายภายในกองปุ๋ยหมักยังไม่สมบูรณ์

                          ความร้อนในกองปุ๋ย หลังจากกองปุ๋ยหมักประมาณ 2-3 วัน อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะสูงประมาณ
                   50-60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะสูงอยู่ในระดับนี้ระยะหนึ่งแล้ว จึงค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งใกล้เคียงกับ
                   อุณหภูมิภายนอกกองปุ๋ยหมักจึงถือว่าเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ แต่ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย

                   เพราะในกรณีที่มีความชื้นน้อยหรือมากเกินไป อาจจะท าให้ระดับอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักลดลงได้
                   เช่นกัน
                          ลักษณะพืชที่เจริญบนกองปุ๋ยหมัก เมื่อกองปุ๋ยหมักเกือบใช้ได้แล้ว บางครั้งอาจจะมีพืชเจริญบน
                   กองปุ๋ยได้ แสดงว่ากองปุ๋ยหมักดังกล่าวน าไปใส่ในดินโดยไม่เป็นอันตรายต่อพืช
                          3.3.4 ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยหมัก

                          ธาตุอาหาร หมายถึง ธาตุอาหารเคมีที่พืชต้องการน าไปใช้บ ารุงส่วนต่างๆ เพื่อด ารงชีวิตและการ
                   เจริญเติบโต เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม เป็นต้น แต่ในธรรมชาติต่างๆ
                   ไม่ได้อยู่ในรูปลักษณะเดี่ยวๆ มักจะท าปฏิกิริยารวมกับธาตุอื่นๆ อยู่ในรูปสารประกอบ เรียกว่า วัสดุปุ๋ย ปุ๋ย

                   ยังสามารถผลิตได้จากสิ่งของที่เกิดจากธรรมชาติ เรียกว่าปุ๋ยอินทรีย์หรือจากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งทั้ง
                   สองประเภทนั้นปริมาณธาตุอาหารจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่น ามาใช้ในการท าปุ๋ย (เรียมสงวน, 2544)
                          กรมพัฒนาที่ดิน ได้ก าหนดคุณภาพและมาตรฐานที่ดีของปุ๋ยหมักไว้ (ปรัชญา และคณะ, 2540)
                   ดังนี้  มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ไม่เกิน 20:1  เกรดปุ๋ยไม่ควรต่ ากว่า 1:1:0.5 (ร้อยละ

                   N P K ตามล าดับ)  ความชื้นของปุ๋ยหมักไม่ควรมากกว่า ร้อยละ 25-50 (โดยน้ าหนัก)  ปริมาณอินทรียวัตถุ
                   ประมาณ ร้อยละ 25 -50 โดยน้ าหนัก ความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 6-7.5 ไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
                          ปริมาณแร่ธาตุที่ส าคัญที่ส าคัญในปุ๋ยหมักแสดงในตารางที่ 15
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54