Page 42 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        35


                   วัสดุที่ไม่ได้ผ่านการย่อยสลาย นอกจากนี้ความยากง่ายในการไถพรวนของดินดีขึ้น ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องท าให้
                   รากพืชเจริญเติบโตได้ดีจึงดูดธาตุอาหารได้เพิ่มขึ้น การใส่ปุ๋ยหมักลงดินเลวจึงช่วยท าให้คุณภาพดินนั้นดีขึ้น

                   ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ที่ไม่มีประโยชน์ให้ใช้ประโยชน์ได้ เป็นการท าให้กากตะกอนแห้ง สิ่งขับถ่ายจาก
                   มนุษย์ มูลจากสัตว์ และกากตะกอนประกอบด้วยน้ าประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งท าให้ค่าใช้จ่ายในการ
                   เก็บรวบรวมขนส่งและก าจัดสูงขึ้น การท าให้กากตะกอนแห้งโดยวิธีท าปุ๋ยหมักจึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
                   โดยความร้อนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการไประเหยน้ าที่มีอยู่ในตะกอน

                          3.3.3 การผลิตปุ๋ยหมัก
                          ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากการน าชิ้นส่วนของวัสดุอินทรีย์มาหมักในรูปของการ
                   กองซ้อนกันบนพื้นดินหรืออยู่ในหลุม เศษชิ้นส่วนของพืชที่น ามาหมักนั้นจะต้องผ่านกระบวนการย่อย

                   สลาย จนแปรสภาพไปจากรูปเดิม โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์จนกระทั่งได้อินทรียวัตถุที่มีความคงทน ไม่มี
                   กลิ่น มีสีน้ าตาลปนด า และมีอัตราส่วนของสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ า เมื่อกระบวนการย่อย
                   สลายเศษซากอินทรีย์และวัสดุเสร็จสมบูรณ์ก็จะได้ปุ๋ยหมักส าหรับใช้ในการปรับปรุงดิน วิธีการท าปุ๋ยหมัก
                   มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                          ธงชัย (2546) ได้กล่าวถึงวัสดุที่ใช้ท าปุ๋ยหมักไว้ดังนี้ วัสดุที่ใช้ท าปุ๋ยหมักนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็น

                   วัสดุเหลือใช้ประเภทต่างๆ และมีปริมาณเหลือทิ้งในแต่ละปีสูงมาก สามารถจ าแนกเป็นแหล่งใหญ่ ๆ
                   ดังนี้คือ
                          วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดังนั้นวัสดุเหลือใช้

                   ทางการเกษตรจึงมีอยู่ทั่วไปและหลายรูปแบบ จะเห็นได้ชัดว่าพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกข้าวจะมีอยู่สูงถึง 73
                   ล้านไร่ ในขณะที่เนื้อที่อีกประมาณ 47 ล้านไร่ ใช้ในการเพาะปลูกพืชอื่นๆ ดังนั้นฟางข้าวจึงน่าจะเป็นวัสดุ
                   เหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณมากและเหมาะสมที่จะน ามาท าปุ๋ยหมัก นอกจากนั้นจะเป็นส่วนของล า
                   ต้น ใบ และเปลือกของพืชชนิดอื่นๆ ที่สามารถน ามาท าปุ๋ยหมักได้ เช่น ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด เปลือกถั่ว

                   ชนิดต่างๆ และเศษต้นอ้อย เป็นต้น
                          วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม ประเทศไทยจัดเป็นประเทศหนึ่งที่ก าลังพัฒนา เพื่อเพิ่ม
                   ผลผลิตทางอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตร โดยการแปรรูปผลผลิตเหล่านี้ให้เป็น
                   ผลิตภัณฑ์ส าเร็จรูป จึงก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

                   มากมายหลายชนิด เช่น กากอ้อยจากโรงงานน้ าตาล แกลบจากโรงงานสีข้าว ขี้เลื่อยจากโรงเลื่อย ขุย
                   มะพร้าวจากโรงงานบางประเภท ไส้ปอและขุยไผ่จากโรงงานผลิตกระดาษ เปลือกและกากผลไม้จาก
                   โรงงานบรรจุผลไม้กระป๋อง และกากตะกอนน้ าเสีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน
                   อุตสาหกรรมที่นิยมใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ ชานอ้อย เนื่องจากมีปริมาณมากกว่า

                   วัสดุประเภทอื่น และมีคุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมส าหรับกระบวนการผลิต นอกจากวัสดุเหลือใช้ที่เป็น
                   ของแข็งแล้ว ยังมีน้ าทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ที่สามารถน ามาท าเป็นปุ๋ยหมักได้ โดยใช้แทนน้ า
                   ในการรักษาระดับความชื้นในกองปุ๋ยหมักและยังเป็นแนวทางในการก าจัดน้ าทิ้งเหล่านี้ด้วย เช่น กากน้ าส่า

                   จากโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ น้ าทิ้งจากโรงงานผลิตผงชูรส น้ าทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันส าปะหลัง และน้ า
                   ทิ้งจากโรงงานประกอบอาหารและผลไม้กระป๋อง เป็นต้น หลายชนิดสามารถน ามาผลิตเป็นปุ๋ยหมักได้เป็น
                   อย่างดี ซึ่งเป็นแนวทางในการก าจัดวัสดุเหลือทิ้งดังกล่าว
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47