Page 40 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        33


                   แผ่นแข็งของหน้าดิน ท าให้การงอกของเมล็ดและการซึมของน้ าลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่า
                   ของน้ าขณะฝนตก   เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่สมบูรณ์ไป

                          ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้า ๆ และสม่ าเสมอ
                   โดยทั่วไปแล้วปุ๋ยหมักจะมีแร่ธาตุอาหารพืชที่ส าคัญครบถ้วน กล่าวคือ มีไนโตรเจนทั้งหมดประมาณร้อยละ
                   0.4-2.5 ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชประมาณร้อยละ 0.2-2.5 และโพแทสเซียมอยู่ในรูปที่
                   ละลายน้ าได้ร้อยละ 0.5-1.8 ปริมาณแร่ธาตุอาหารดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเศษ

                   อินทรีย์ที่น ามาหมักและวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกองปุ๋ย นอกจากธาตุอาหาร 3 ธาตุ ที่กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมัก
                   ยังมีธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ อีก เช่น แคลเซียม ก ามะถัน แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง
                   โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และธาตุอื่นๆ ซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะไม่มีหรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น ธาตุเหล่านี้

                   มีความส าคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแต่ต้องการปริมาณน้อยเท่านั้น
                   นอกจากจะเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีคุณค่าในแง่การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                   อีกหลายประการ เช่น ช่วยท าให้แร่ธาตุอาหารพืชในดินแปรสภาพไปอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมได้ง่าย
                   ช่วยดูดซับธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกน้ าฝนหรือชลประทานชะล้างสูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอม
                   แร่ธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อีกทางหนึ่ง จะเห็นได้ว่า แม้ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณแร่ธาตุ

                   อาหารในปุ๋ยไม่เข้มข้นเหมือนปุ๋ยเคมี แต่ก็มีลักษณะดีอื่นๆ ที่ช่วยรักษา และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์
                   ของดินได้อย่างดี
                          ประโยชน์ของปุ๋ยหมักในด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสรุปได้ดังนี้ เป็นการก าจัดขยะทั่วไป ท า

                   ให้บริเวณที่อยู่อาศัย ถูกสุขลักษณะน่าอยู่ สะอาด  ช่วยลดอุบัติเหตุซึ่งเกิดจากการท าลายเศษพืชโดยการ
                   เผา เช่น ตอซัง ข้าว เศษหญ้า เศษขยะข้างถนน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง ท าให้เกิดอุบัติเหตุ การจราจรติดขัด
                   ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และยังท าให้เกิดอากาศเป็นพิษ รวมทั้งท าลายสิ่งแวดล้อม
                   ของโลกด้วยการน าเศษพืชเหล่านั้นมาท าปุ๋ยหมักจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ลดปัญหาทางด้านกลิ่นจาก

                   วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ของเหลือต่างๆ หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ เข้า จะเกิด
                   กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เมื่อได้น ามาท าเป็นปุ๋ยหมักแล้ว จะเป็นการน ากลับมาใช้ประโยชน์อีก และยังเป็น
                   การลดปัญหาทางด้านกลิ่นได้ด้วย เป็นการก าจัดวัชพืชน้ าต่างๆ ท าให้สัตว์น้ าได้รับออกซิเจน และแสงแดด
                   เต็มที่ เกิดสภาพสมดุลในการด ารงชีวิตของสัตว์น้ า  ช่วยให้การสัญจรทางน้ าสะดวกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                   การก าจัดผักตบชวาซึ่งมักมีมากเกินความต้องการตามแม่น้ า ห้วย หนอง คลอง บึงและแหล่งน้ าทั่วไป
                          3.3.2 กระบวนการเป็นปุ๋ยหมัก (Composting)
                          กระบวนการเป็นปุ๋ยหมักเป็นกระบวนการทางชีวเคมี ซี่งสารอินทรีย์ถูกย่อยสลายเป็นสารคล้าย
                   ฮิวมัสและเป็นกระบวนการที่ธาตุอาหารและสารอินทรีย์ในวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรถูกน ามาใช้

                   ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง ได้มีผู้ให้ค าจ ากัดความของกระบวนการเป็นปุ๋ยหมักไว้มากมาย ดังเช่น
                          Bell (1973) ได้ให้ค าจ ากัดความกระบวนการเป็นปุ๋ยหมักไว้ว่า เป็นกระบวนการย่อยสลายทาง
                   ชีววิทยาแบบใช้อากาศมีช่วงอุณหภูมิสูงและสะสมความร้อนภายในตัวเองซึ่งเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ และ

                   สะสมวัสดุอินทรีย์ที่มีการย่อยสลาย
                          Biddlestone and Gray (1973) กล่าวว่า กระบวนการเป็นปุ๋ยหมักเป็นการย่อยสลายวัสดุ
                   อินทรีย์ที่มีเนื้อต่างชนิดกันโดยกลุ่มประชากรจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อมแบบมีอากาศและร้อนชื้น
                          American Society of Agricultural Engineers (1975) รายงานว่า กระบวนการเป็นปุ๋ยหมัก
                   เป็นการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้อินทรีย์แบบมีอากาศที่อุณหภูมิสูงเป็นสารประกอบฮิวมัสที่ค่อนข้างคงตัว
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45