Page 39 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        32


                   สารอินทรีย์ให้สลายตัวผุพังตามธรรมชาติ โดยน าสิ่งเหล่านั้นมากกองรวมกัน รดน้ าให้ชื้น แล้วปล่อยทิ้งไว้
                   ให้เกิดการย่อยสลายตัว โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงน าไปใช้ปรับปรุงดิน ในการเตรียมกองปุ๋ยหมักอาจใส่

                   ปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน    และเป็นการเพิ่มคุณค่าด้านธาตุอาหารของปุ๋ยหมักด้วย
                          ปุ๋ยหมักเป็นปัจจัยที่ส าคัญอย่างหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพราะพืชจะให้ผลผลิตสูง
                   จ าเป็นต้องใช้ธาตุอาหารต่างๆ ในปริมาณที่เพียงพอ โดยปกติพืชจะได้ธาตุอาหารต่างๆ จากดิน แต่
                   เนื่องจากพื้นที่ดินที่ท าการเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ประกอบการน าผลิตภัณฑ์จากพืชไปใช้โดย

                   มนุษย์ ธาตุอาหารต่างๆ ในดินจึงถูกน าออกไปจากดินด้วย จึงท าให้ธาตุอาหารมีปริมาณลดลงและ
                   เสื่อมสภาพความสมดุลไป นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ก็
                   จะท าให้ดินเสื่อมเร็วกว่าประเทศในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่นกว่า ดังนั้นจะต้องมีการปรับปรุงบ ารุงรักษา

                   มิฉะนั้นแม้แต่ดินที่ท าการบุกเบิกมาใช้ท าการเกษตรใหม่ ๆ ก็จะเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว
                          ข้อก าหนดส าคัญในเรื่องคุณภาพของปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยหมักควรเหมาะสมส าหรับการใช้เป็นวัสดุ
                   อินทรีย์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดิน นอกจากนั้นต้องคงตัวทั้งทางเคมี และชีวะ ไม่เป็นพิษ และมีธาตุอาหาร
                   ที่สมดุล ปริมาณอินทรียวัตถุหรือถ้าจะกล่าวเจาะจงลงไป คือ ปริมาณของฮิวมัส สามารถจะใช้เป็นดัชนีบ่ง
                   บอกคุณภาพของปุ๋ยหมักนั้นๆ คุณภาพของปุ๋ยหมักที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายแบบมีอากาศและแบบ

                   ไม่มีอากาศ ไม่ค่อยจะแตกต่างกันนัก และคุณภาพปุ๋ยหมักจากทั้งสองกระบวนการ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ
                   วัสดุอินทรีย์เหลือใช้เริ่มต้น ปุ๋ยหมักที่คุณภาพที่ดีที่สุดท ามาจากวัสดุอินทรีย์ซึ่งมีการปนเปื้อนทั้งที่มองเห็น
                   ด้วยสายตา การปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์และการปนเปื้อนด้วยโลหะหนักในระดับต่ า

                          ปุ๋ยหมักควรสม่ าเสมอ ซึ่งหมายถึงว่า ส่วนที่เป็นอินทรีย์ของวัสดุควรจะถูกย่อยสลายอย่างพอเพียง
                   ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ต้องปราศจากกลิ่นและง่ายต่อการน าไปใช้ รวมทั้งการเก็บและการขนส่ง
                          ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากปุ๋ยเคมีอีกข้อหนึ่ง คือ ถึงแม้ว่าธาตุ
                   อาหารพืชในปุ๋ยเคมีอาจจะมากกว่าในปุ๋ยหมักอย่างมาก แต่ธาตุอาหารพืชเหล่านี้มักจะละลายและถูกชะ

                   ล้างไปจากบริเวณรากพืชได้ง่าย ส่วนปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีคุณสมบัติยึดธาตุอาหารพืชในรูปคอลลอยด์ ซึ่งจะเป็น
                   รูปที่ถูกปลดปล่อยออกมาได้อย่างช้าๆ เมื่อวัสดุอินทรีย์ย่อยสลายในดินธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจาก
                   ปุ๋ยหมักที่มักจะมีอยู่ปริมาณต่ านั้นอยู่ในรูปที่ควบคุมได้ เมื่อเปรียบเทียบกับมูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอกแล้ว ปุ๋ย
                   หมักที่ได้มาจากขยะมูลฝอยมีปริมาณเกลือต่ าซึ่งเป็นผลดีต่อระบบรากพืชเพราะหากปริมาณเกลือสูง

                   สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของรากพืชได้
                          จุฑามาศ (2548) กล่าวถึงประโยชน์ของปุ๋ยหมักไว้ว่า แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ การ
                   ปรับปรุงคุณสมบัติต่างๆ ของดิน ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการปรับสภาพของดินให้เหมาะสมต่อ
                   การเจริญเติบโตของพืช ถ้าเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น เช่น ดินเหนียว   ปุ๋ยหมักก็จะช่วยให้ดินนั้นมี

                   สภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ท าให้การระบายน้ าและการระบายอากาศดีขึ้น ช่วยให้ดินมี
                   ความสามารถในการอุ้มน้ าหรือดูดซับน้ าที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น ท าให้รากพืชเจริญเติบโตได้
                   รวดเร็ว แข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุต่างๆ และน้ าได้อย่างมี

                   ประสิทธิภาพในดินเนื้อหยาบ เช่น ดินทรายและดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มี
                   สารอินทรีย์อยู่น้อย ไม่อุ้มน้ า การใส่ปุ๋ยหมักก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และท าให้ดินเหล่านั้น
                   สามารถดูดซับน้ าไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ นอกจาก
                   คุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ปุ๋ยหมักยังสามารถช่วยปรับปรุงดินในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็น
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44