Page 38 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
31
ประเทศออสเตรเลียได้ก าหนดปริมาณโลหะหนักในกากตะกอนที่จะใส่ลงในพื้นที่เกษตรกรรม
โดยแบ่งคุณภาพของกากตะกอนออกเป็น 4 ระดับ โดยกากตะกอนระดับ A เป็นกากตะกอนที่มีคุณภาพดี
มีการปนเปื้อนของโลหะหนักน้อย เหมาะสมจะน าไปใส่ในพื้นที่ประเภทสวนดอกไม้หรือแปลงผักในบ้าน
กากตะกอนระดับ B เป็นกากตะกอนที่สามารถน าไปใส่ในพื้นที่ต่างๆ ได้ เนื่องจากมีโลหะหนักอยู่ใน
ปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย ส่วนระดับ C และ D สามารถน าไปใส่ในพื้นที่ป่า แต่กากตะกอนที่มีการปนเปื้อน
มากกว่าระดับ D ควรจะน าไปท าการฝังกลบ (ตารางที่ 12)
ตารางที่ 12 ปริมาณโลหะหนักสูงสุดที่ยอมให้มีในการน ากากตะกอนไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ
สารเคมี ความเข้มข้น (mg/kg น้ าหนักแห้ง)
ระดับ A ระดับ B ระดับ C ระดับ D
อาร์เซนิค 20 20 20 30
แคดเมียม 3 5 20 32
โครเมียม 100 250 500 600
ทองแดง 100 375 2,000 2,000
ตะกั่ว 150 150 420 500
ปรอท 1 4 15 19
นิกเกิล 60 125 270 300
เซลิเนียม 5 8 50 90
สังกะสี 200 700 2,500 3,500
ที่มา : NSWEPA (1995)
3.3 ปุ๋ยหมัก
3.3.1 ความหมายและความส าคัญของของปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งส่วนใหญ่มาจากวัสดุอินทรีย์ที่ถูกหมักให้ย่อยสลายกลายสภาพ
เป็นปุ๋ย ซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอินทรียวัตถุในดินทุกประการ ปุ๋ยหมักเป็นผลผลิตสุดท้ายที่คงตัว ซึ่ง
ได้มาจากการย่อยสลายทางชีววิทยาของวัสดุอินทรีย์ ถ้าการย่อยสลายเสร็จสิ้นสมบูรณ์จะเป็นวัสดุผสมมีสี
น้ าตาล-ด า ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า และปราศจากเชื้อโรค ซึ่งน ามาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงโครงสร้างของดิน
ทิพวรรณ (2542) ได้กล่าวไว้ว่า ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ท าขึ้น โดยเลียนแบบธรรมชาติใน
ป่า ได้จากเศษพืช มูลสัตว์มากองรวมกันแล้วเกิดการย่อยสลาย ซึ่งมีสีน้ าตาลด ามีคุณสมบัติในการปรับปรุง
ดิน ท าให้ดินโปร่ง เพิ่มความพรุนให้แก่ดิน ท าให้การระบายน้ าและอากาศในดินดีขึ้น ทั้งช่วยให้ดินอุ้มน้ า
และดูดซึมธาตุอาหารพืชดีขึ้น นัยนา (2542) และธงชัย (2545) ได้กล่าวไว้ว่า ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ย
อินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ท าขึ้น โดยการน าเอาวัสดุเหลือทิ้ง เช่น ใบไม้ ฟางข้าว เศษหญ้า หรือ ขยะตามบ้านเรือน
มากองรวมกัน แล้วปรับความชื้นให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดกระบวนการหมักจากจุลินทรีย์หลายชนิดที่ปะปน
และอาศัยอยู่ในกองปุ๋ยช่วยกันแปรสภาพของเศษพืชหรือวัสดุต่างๆ ให้กลายเป็นวัสดุชิ้นใหม่ที่มีสีด า
ลักษณะพรุน ร่วนซุย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการน าวัสดุอินทรีย์เหลือใช้ต่างๆ มาหมักรวมกัน
แล้วปรับสภาพให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์จนกระทั่งได้วัสดุที่มีความคงทนต่อ
การย่อยสลาย สีน้ าตาลปนด า และมุขดา (2545) ได้กล่าวไว้ว่า ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการหมัก