Page 37 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        30


                   ตารางที่ 10 ปริมาณโลหะหนักในพืช ณ ระดับปกติและระดับที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช

                            โลหะหนัก                     ปริมาณโลหะหนัก (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
                                                     ระดับปกติ        ระดับที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช

                    แมงกานีส (Mn)                     15 -150                   400 – 2,000
                    สังกะสี (Zn)                     15 - 150                   500 – 1,500
                    ทองแดง (Cu)                       3 – 20                      25 - 40

                    โครเมียม (Cr)                        - *                         -
                    นิกเกิล (Ni)                      0.1 – 5                     50 -100
                    ตะกั่ว (Pb)                        2 – 5                         -
                    แคดเมียม (Cd)                     0.1 – 1                     5 -700

                    ปรอท (Hg)                            -                           -

                   ที่มา : Chancy (1982)
                   หมายเหตุ : * ไม่มีรายงาน

                          การน ากากตะกอนไปทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก  จ าเป็นต้องมีกากตะกอนที่ได้คุณภาพ  คือ มีความ
                   ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ ไม่ก่อมลพิษ ซึ่งต้องพิจารณาถึงสารอินทรีย์ สารอาหาร เชื้อโรค โลหะหนัก และ

                   สารพิษต่างๆ  ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด  การน ากากตะกอนไปทิ้งบนพื้นต่างๆ  จะมีข้อจ ากัดต่างๆ  เช่น
                          ในประเทศอังกฤษ ได้น ากากตะกอนไปใส่ลงในพื้นที่ป่า เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นไม้ในป่า
                   โดยเฉพาะไม้เศรษฐกิจต่างๆ อัตราการเติมสูงสุดเท่ากับ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ส าหรับกากตะกอน
                   ที่เป็นของเหลว ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการใส่กากตะกอนคือ ช่วงฤดูกาลเจริญเติบโตของต้นไม้ และ

                   ช่วงเวลาที่ไม่มีฝนตกหนักหรือมีลมแรง บริเวณป่าที่ท าการเติมกากตะกอนควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ าส าหรับ
                   อุปโภคบริโภคอย่างน้อย 50 เมตร และควรมีแนวป้องกันอย่างน้อย 20 เมตรก่อนถึงถนนในป่า ในด้านของ
                   โลหะหนักที่ปนเปื้อนในกากตะกอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสมบัติของดิน และสิ่งมีชีวิตในป่า ถือเป็นปัจจัย
                   ที่ส าคัญและต้องระมัดระวังให้มีการปนเปื้อนอยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่ก าหนดไว้ (ตารางที่ 11)

                   ตารางที่ 11 ปริมาณโลหะหนักสูงสุดที่มีได้ในกากตะกอนที่น าไปใส่ในพื้นที่ป่า


                               ธาตุ                  อัตราการเติมเฉลี่ย         ปริมาณสูงสุดในดิน
                                                       (kg/ha ต่อปี)            (mg/kg น้ าหนักแห้ง)
                             แคดเมียม                      0.15                         3
                             โครเมียม                      15                          400

                             ทองแดง                        7.5                         80
                               ตะกั่ว                      15                          300
                              ปรอท                         0.1                          1
                              นิกเกิล                       3                          50

                              สังกะสี                      15                          200

                   ที่มา : Forestry Commission (1992)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42