Page 36 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
29
ตารางที่ 8 ข้อมูลเปรียบเทียบธาตุอาหารของปุ๋ยกับกากตะกอน
ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
(เปอร์เซ็นต์) (เปอร์เซ็นต์) (เปอร์เซ็นต์)
ปุ๋ยทั่วไป 5 10 10
กากตะกอน 3.3 2.3 0.3
ที่มา : เกรียงศักดิ์ (2539)
Webber และคณะ (1984) ได้กล่าวว่า ความเสี่ยงในการน ากากตะกอนไปใช้ประโยชน์ทาง
การเกษตรนั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นชั่วคราว ได้แก่ กลิ่นรบกวนของกาก
ตะกอน การปนเปื้อนของจุลินทรีย์และพยาธิที่ท าให้เกิดการแพร่กระจายของโรค การปนเปื้อนของน้ าใต้
ดินจากไนเตรทไนโตรเจน ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นถาวร ได้แก่ การเพิ่มการสะสมโลหะหนักในดิน ในพืช และ
ห่วงโซ่อาหาร แต่ความเสี่ยงนี้สามารถป้องกันได้ โดยการเติมกากตะกอนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้
ปริมาณโลหะหนักไม่เกินมาตรฐาน และไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช
ตารางที่ 9 ปริมาณโลหะหนักที่ยอมให้มีได้ในดินเพื่อการเกษตร
ประเทศที่ก าหนด ปริมาณโลหะหนัก (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
Mn Zn Cu Cr Ni Pb Cd Hg
อังกฤษ 500 280 140 500 35 550 3.5 0.3
เยอรมัน - * 300 100 - 50 100 3.0 -
ฝรั่งเศส - 300 100 - 50 100 2.0 -
เนเธอร์แลนด์ - 100 50 - 20 100 1.0 -
ช่วงของทั้ง 4 ประเทศ 500 100- 50-140 500 20-50 100- 1-3.5 0.3
280 550
ที่มา : Webber และคณะ (1984)
หมายเหตุ : * ไม่มีรายงาน
ปริมาณโลหะหนักที่ยอมให้มีได้ในดินเพื่อการเกษตร แสดงในตารางที่ 9 และปริมาณโลหะหนักใน
พืช ที่ระดับปกติ และระดับที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช แสดงในตารางที่ 10