Page 33 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
ยอมให้มีการทิ้งทะเลได้ แต่ก าหนดให้ห่างจากฝั่งออกไปเป็นระยะทางไกล ๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ
ขนส่งเพิ่มมากขึ้น
การน าไปปรับปรุงดิน (Land Application) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นอีกวิธี
หนึ่งที่นิยมใช้กัน โดยตะกอนที่น าไปก าจัดอาจอยู่ในรูปตะกอนเปียก หรือตะกอนแห้ง วิธีการดังกล่าวมี
ข้อดีที่ว่าโดยทั่วไปตะกอนจากการบ าบัดน้ าเสีย จะมีสารประกอบหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อาทิ
เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และธาตุอาหารอื่น ๆ ตะกอนที่จะน าไปก าจัดควรจะผ่านกระบวนการบ าบัด
แล้วและแยกน้ าออกจนมีสภาพเป็นตะกอนแห้ง เพื่อมิให้ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น และปัญหาภาวะมลพิษใน
พื้นที่ที่น าไปก าจัด ปัญหาของการก าจัดตะกอนวิธีการนี้คือ ตะกอนอาจมีส่วนผสมของสารบางอย่างซึ่งอาจ
ก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวต่อพืชและสัตว์ที่กินพืชนั้นเป็นอาหารจึงจ าเป็นต้องท าการตรวจสอบ
ส่วนประกอบของตะกอนก่อนที่จะน ามาใช้ ปัญหาการหาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีเนื้อที่มากพอแล้วมีระยะไม่
ไกลจากสถานที่บ าบัดน้ าเสียมากเกินไป และหากเป็นพื้นที่นา ซึ่งในการท าการเพาะปลูกจ าเป็นต้องมีการ
กักเก็บน้ าในระยะเวลาหนึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการก าจัดตะกอน ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศก็เป็นปัญหาที่
ส าคัญโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน
การน าไปฝังกลบ (Landfill) โดยตะกอนอยู่ในรูปตะกอนแห้ง โดยตะกอนที่น าไปก าจัดควรอยู่ใน
รูปตะกอนแห้ง ซึ่งมีของแข็งอยู่มากกว่าร้อยละ 30 ของสลัดจ์ทั้งหมดอย่างไรก็ตามเพื่อที่จะให้การก าจัด
ตะกอนเป็นไปอย่างถูกสุขลักษณะ ควรเป็นการก าจัดแบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ซึ่งจ าเป็นต้องมี
ค่าใช้จ่ายในการด าเนินงาน และจ าเป็นต้องจัดหาพื้นที่ส าหรับการก าจัดที่เหมาะสม ซึ่งมีระยะไม่ห่างไกล
จากโรงบ าบัดน้ าเสียมากเกินไป ไม่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน และมีการศึกษาถึงผลกระทบที่อาจมีต่อคุณภาพน้ า
ใต้ดินและแหล่งน้ าผิวดินที่อยู่ใกล้เคียง
การเผา (Incineration) โดยทางทฤษฎีแล้วตะกอนจากการบ าบัดน้ าเสียเป็นวัสดุอย่างดีที่สามารถ
น าไปก าจัดโดยการเผา ทั้งนี้เนื่องจากตะกอนที่มีความชื้นต่ ากว่าร้อยละ 80 สามารถที่จะเผาไหม้ได้เองโดย
ไม่ต้องอาศัยเชื้อเพลิงอื่น ๆ การเผามีข้อดีที่สามารถก าจัดตะกอนได้อย่างสมบูรณ์โดยมิต้องส่งไปก าจัดที่
อื่นและได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของเตาเผาให้มีประสิทธิภาพสูงและง่ายต่อการควบคุมการท างาน
อย่างไรก็ดีค่าลงทุนในการก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการด าเนินการยังค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ
การหมักท าปุ๋ย (Composting) เป็นวิธีการก าจัดตะกอนที่ดีวิธีหนึ่งส าหรับตะกอนที่เกิดจากการ
บ าบัดน้ าเสียชุมชนที่มีปริมาณสารพิษปนอยู่น้อย ด้วยเหตุผลเดียวกันกับการก าจัดโดยน าไปปรับปรุงดิน
โดยน ากากตะกอนมาหมักเป็นเวลา 20 วัน อาจมีการผสมกับกากเหลือใช้จากกระบวนการผลิตอื่นๆ เช่น
ฟางข้าวเพื่อให้แห้งเร็ว จนมีของแข็งร้อยละ 95 และผสมด้วยกากถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจน
หรือผสมด้วยแกลบเพื่อเพิ่มความร่วนซุยทั้งนี้ขึ้นอยู่ความเหมาะสมและการใช้งาน