Page 32 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        25


                          เรียมสงวน (2544) ได้อธิบายถึงโลหะหนักที่พบได้ในน้ าเสียไว้ดังนี้
                          สารหนู (As) เป็นธาตุกึ่งโลหะ เป็นสารที่มีลักษณะเป็นผงโลหะสีเทา มีมากเป็นอันดับที่ 20 ของ

                   ธาตุที่พบมากบนโลก โดยจะพบในสิ่งที่มีชีวิต พืชและสัตว์ ตลอดจนพบในธรรมชาติ ส าหรับพืชบนพื้นดิน
                   ตรวจพบว่าในพืชไร่มีปริมาณสารหนู 0-20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งทั้งนี้ขึ้นกับพื้นที่เพาะปลูก ถ้าหากปลูก
                   ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม หรือในพื้นดินที่มีปริมาณสารหนูสูง พืชดังกล่าวก็จะมีการดูดซึมสารชนิดนี้ได้มาก
                   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้าว ตรวจพบสารหนูสูงมาก คือปริมาณสูงถึง 150-250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งทั้งนี้

                   ขึ้นกับพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้เห็ดที่บริโภคได้บางชนิดที่ปลูกในดินที่มีสารหนูก็จะพบสารชนิดนี้เช่นกัน
                   ในใบยาสูบ ปริมาณสารหนูที่คนกินแล้วเป็นพิษ ถึงขั้นเสียชีวิตนั้นอยู่ในช่วง 1.5 - 500 มิลลิกรัมต่อน้ าหนัก
                   ตัว 1 กิโลกรัม

                          แคดเมียม (Cd) เป็นโลหะทรานสิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี
                   แคดเมียมใช้ประโยชน์ในการท าแบตเตอรี่ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยที่ก าหนดโดย
                   องค์การอนามัยโลก ที่ก าหนดไว้ว่าคนปกติไม่ควรได้รับแคดมียมเกินสัปดาห์ละ 0.40-0.50 มิลลิกรัม
                   ส าหรับคนไทยได้รับสัปดาห์ละ 0.105-0.113 มิลลิกรัม ซึ่งยังต่ ากว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกก าหนดแต่ถ้า
                   หากกินอาหารที่มีอาหารทะเลประเภทหอยแมลงภู่ และหอยนางรม เป็นประจ าบ่อยๆ ก็จะได้รับแคดเมียม

                   จากอาหารสูง และถ้ายิ่งสูบบุหรี่ด้วยแล้วยิ่งท าให้ได้รับแคดเมียมเข้าในร่างกายได้มาก
                          ตะกั่ว (Pb) เป็นโลหะสีเทาเงิน หรือแกมน้ าเงินเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในเปลือกโลกตะกั่วในพื้นดิน
                   อาจเกิดตามธรรมชาติหรืออาจเกิดจากภาวะมลพิษดินที่มีสภาพเป็นกรด จะมีสารตะกั่วน้อยกว่าดินที่เป็น

                   ด่าง เนื่องจากอินทรีย์สารในดินอาจท าปฏิกิริยา กับสารตะกั่ว ที่มีอยู่ สารตะกั่วเข้าสู่ร่างกานมนุษย์ได้โดย
                   การบริโภคอาหาร น้ า หรือหายใจ เอาอากาศที่มีสารตะกั่วเจือปนเข้าไป ในบางกรณีร่างกาย อาจดูดซึม
                   ตะกั่วอินทรีย์ที่ไม่ใช่สารตะกั่ว ในบรรยากาศเข้าทางผิวหนังได้   สารตะกั่วมีพิษมาก โดยเฉพาะในเด็ก ซึ่ง
                   อาจมีผลท าให้สมองพิการ ส่วนในผู้ใหญ่อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาท ส าหรับ

                   อันตรายโดยทั่วไปนั้นท าให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นลง ท าให้เป็นโรคโลหิตจาง และเป็นอันตรายต่อระบบ
                   ประสาท ไต ทางเดินอาหาร ตับ และหัวใจ สารตะกั่วพบได้ทั่วไปทั้งในดิน หิน น้ า พืช และอากาศ
                          ปรอท (Hg) ใช้ผสมหรือเจอโลหะต่างๆ เช่น ทองค า เงิน และทองแดงที่เรียกว่า อะมัลกัม น าไปใช้
                   ในการอุดฟัน ใช้เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเป็นองค์ประกอบของยาปราบศัตรูพืชและสัตว์ พิษของ

                   ปรอทเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจท าลายเนื้อเยื่อปอด ท าลายระบบขับถ่ายและระบบประสาท
                   ส่วนกลาง ปรอทเป็นสารพิษที่มีพิษร้ายแรงมาก สามารถดูดซึมผ่านระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร
                   และซึมผ่านทางผิวหนังถ้ามีแผลหรือรอยแตกและสะสมพิษเอาไว้ เนื่องจากปรอทเป็นธาตุที่ระเหยได้และ
                   สามารถอิ่มตัวในอากาศจึงเป็นสารที่มีอันตรายมาก สารปรอทที่มีพิษมากที่สุด ได้แก่ เมทธิลเมอร์คิวรี่

                   เมอร์คิวริกคลอไรด์ ซึ่งสามารถระเหิดได้และมีพิษกัดกร่อนสูง
                          3.2.5 การก าจัดสลัดจ์ขั้นสุดท้าย
                          สุเทพ (มปป) ได้สรุปการก าจัดสลัดจ์ขั้นสุดท้าย ไว้ดังนี้

                          การขนส่งผ่านท่อหรือบรรทุกเรือน าไปทิ้งทะเล (Marine Disposal) เป็นวิธีการที่ใช้กันในหลาย
                   ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่ติดทะเล อย่างไรก็ตามจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ
                   คุณภาพน้ าทะเลและระบบนิเวศของแหล่งน้ า เป็นผลให้การก าจัดตกตะกอนโดยวิธีดังกล่าวได้รับการ
                   ต่อต้านจากหลายหน่วยงาน ประเทศต่างๆ ได้ออกกฎหมายห้ามมิให้ก าจัดตะกอนโดยทิ้งทะเล หรืออาจ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37