Page 18 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7



                   รูปของไนเตรทจะไม่เหมาะส าหรับใช้เป็นปุ๋ยนา เพราะในดินที่มีสภาพน้ าขังจะขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ใน
                   ดินที่ต้องการออกซิเจนจะใช้ออกซิเจนที่อยู่ในสารไนเตรท ท าให้ไนเตรทเปลี่ยนเป็นก๊าซไนตรัสออกไซด์
                   ไนตริกออกไซด์ และไดไนโตรเจน กลายเป็นก๊าซสูญเสียไป (อ านาจ, 2554) ท าให้ไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุ

                   อาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตสูญเสียไป ข้าวไม่สามารถใช้ประโยชน์ไนโตรเจนได้เต็มที่  จึงควร
                   เลือกใช้ปุ๋ยนาข้าวที่อยู่ในรูปของแอมโมเนียมหรือยูเรีย จะลดการสูญเสียธาตุไนโตรเจนได้น้อยกว่าไนเตรท
                            การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ คือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเนื่องจากปุ๋ยเคมีให้ธาตุ
                   อาหารเพียงไม่กี่ธาตุ ท าให้เกิดการสูญเสียได้มาก หากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะช่วยดูดซับธาตุ

                   อาหารไว้ท าให้ชะลอการสูญเสียธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมี  ปัจจุบันจึงมีการใช้ปุ๋ยพืชสดเพิ่มมากขึ้นและใน
                   อนาคตมีแนวโน้มใช้ปุ๋ยพืชสดทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในนาข้าวเพิ่มสูงขึ้น (Becker, 1990) ปัญหาเกี่ยวกับ
                   การใช้ปุ๋ยเคมีที่ท าให้ต้นทุนการผลิตสูงและมีผลเสียอื่น ๆ อีกหลายประการท าให้เกษตรกรเริ่มหันกลับมา

                   ใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้นเช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น (กรมการข้าว, 2551) การใช้ปุ๋ยคอกมีข้อจ ากัด
                   คือต้องใช้ปริมาณมาก การใช้ปุ๋ยหมักมีข้อจ ากัดคือการจัดหาและการขนส่ง  ขณะที่การใช้ปุ๋ยพืชสดมีข้อดี
                   หลายประการ  ได้แก่ ปลูกได้ง่ายและสะดวกลงในพื้นที่นาได้โดยตรง  ลงทุนน้อยและเหมาะสมส าหรับใช้
                   กับพื้นที่ขนาดใหญ่ (ประชา, 2542) ดังนั้นการใช้ปุ๋ยพืชสดจึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมส าหรับใช้
                   ทดแทนปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการจัดการธาตุอาหารในดินนา  เพิ่มไนโตรเจนและปรับปรุงสมบัติ

                   ดินให้เหมาะต่อการผลิตข้าว

                   5. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                          ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นปุ๋ยที่ได้จากการน าวัสดุอินทรีย์และหรืออนินทรีย์จากธรรมชาติทาง
                   การเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงผ่านการหมักจนสลายตัวสมบูรณ์ แล้วผสมกับวัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์
                   ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง นอกจากนี้วัสดุ เช่น หินฟอสเฟต  กระดูกสัตว์ มูลสัตว์ต่างๆ ยัง

                   ประกอบด้วยธาตุอาหารรอง โดยเฉพาะแคลเซียม ซึ่งจะท าให้ต้นพืชแข็งแรงต้านทานต่อการเข้าท าลาย
                   ของโรคพืช นอกจากการใช้วัตถุดิบที่มีธาตุอาหารสูงแล้ว ได้น าจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการแปรสภาพ
                   แร่ธาตุต่างๆ ให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  โดยจุลินทรีย์เป็นจุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลส   ซึ่งเป็น
                   องค์ประกอบหลักของพืช จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และละลายฟอสเฟต  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

                   ในการย่อยสลายองค์ประกอบของสารอินทรีย์ ไนโตรเจนและไขมัน  เพื่อลดการสูญเสียไนโตรเจนใน
                   ระหว่างกระบวนการหมักและลดกลิ่นแอมโมเนีย  การน าจุลินทรีย์ที่ละลายอนินทรีย์ฟอสฟอรัส และ
                   จุลินทรีย์ ที่เพิ่มประสิทธิภาพการปลดปล่อยฟอสฟอรัสของวัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งฟอสฟอรัส เช่น หิน
                   ฟอสเฟต และกระดูกป่น คุณสมบัติเด่นของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง คือเป็นแหล่งธาตุอาหารหลักที่เพียงพอ

                   ต่อความต้องการของพืชในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต  เป็นแหล่งธาตุอาหารรองและจุลธาตุแก่พืช
                   ปลดปล่อยให้แก่พืชช้าๆ  ท าให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช  มีปริมาณ
                   อินทรียวัตถุมากกว่าหรือเท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก มี C:N  ; 20:1  มีค่าน าไฟฟ้าน้อยกว่าหรือ

                   เท่ากับ 15 เดซิซีเมนต่อเมตร ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-10  มี N มากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 โดยน้ าหนัก
                   ฟอสฟอรัส มากกว่าหรือเท่ากับ  2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก, โพแทสเซียมมากกว่าหรือเท่ากับ 1.0
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23