Page 17 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6



                            3.2 ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือข้าว GI (Geographical Indication)
                                  หมายถึง ข้าวที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้
                   ภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546  กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ โดยในการขอขึ้นทะเบียนนั้นจะต้อง

                   แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพ ชื่อเสียง คุณลักษณะที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากสินค้า
                   เดียวกันที่มีแหล่งก าเนิดจากพื้นที่อื่น แสดงรายละเอียดความสัมพันธ์ของข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับ
                   แหล่งภูมิศาสตร์ ขอบเขตในการผลิตข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  การควบคุมคุณภาพสินค้า  และระบบการ
                   ควบคุมตรวจสอบสินค้าข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  ซึ่งผู้มีสิทธิ์ในการขอขึ้นทะเบียน ได้แก่ ส่วนราชการ

                   หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล  ซึ่งมีเขต
                   ความรับผิดชอบครอบคลุมบริเวณแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลที่
                   ประกอบกิจการค้าเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  และมีถิ่นที่อยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ และ

                   กลุ่มผู้บริโภคหรือองค์กรผู้บริโภคสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงเป็นสินค้า
                   ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้าแรกของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549  โดยส านัก
                   พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียน (ทานตะวัน, 2556)

                   4. การใช้ปุ๋ยกับนาข้าว
                            ในการใส่ปุ๋ยเคมีความต้องการธาตุอาหารของข้าวในการปลูกข้าวช่วงหนึ่งฤดูนั้น ต้นข้าวจะดูดใช้
                   ธาตุอาหารจากดินในพื้นที่เพาะปลูกข้าว  1  ไร่  โดยจะอยู่ในส่วนของเมล็ด  ฟาง คอรวงและตอซัง  คิด

                   เป็นปริมาณความต้องการธาตุอาหารของข้าวต่อพื้นที่ปลูกข้าว 1  ไร่ ได้แก่ ไนโตรเจน  8  กิโลกรัมต่อไร่
                   ฟอสฟอรัส  3 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 10 กิโลกรัมต่อไร่ แคลเซียม 0.20  เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม
                   0.20  เปอร์เซ็นต์ และก ามะถัน 0.01  เปอร์เซ็นต์ และความต้องการธาตุอาหารเสริม ได้แก่ ทองแดง 6.5
                   มิลลิกรัม สังกะสี 30  มิลลิกรัม แมงกานีส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 45 มิลลิกรัม โบรอน 10.5  มิลลิกรัมและ

                   โมลิบดีนัม 0.40  มิลลิกรัม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2549)  นอกจากการใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกต้องแล้วการที่จะท าให้
                   ข้าวได้ผลผลิตดีนั้น  ต้องอาศัยการปรับปรุงบ ารุงดินโดยการใช้อินทรียวัตถุร่วมด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ
                   ชนวน (2534) ที่รายงานว่า การใส่อินทรียวัตถุลงในดินจะช่วยลดความเป็นกรดของดิน อันเนื่องมาจาก
                   การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุได้ และสอดคล้องกับธีระและคณะ (2548)

                   รายงานว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยปรับปรุงบ ารุงดินให้ดีขึ้น เหมาะสมต่อการ
                   เจริญเติบโตของปาล์มน้ ามันมากขึ้น
                            ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่ไม่มีอินทรียวัตถุเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีจึงไม่สามารถปรับปรุง
                   สมบัติทางกายภาพและชีวภาพของดินได้ อีกทั้งปุ๋ยเคมีบางชนิดมีผลต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เช่น

                   ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปยูเรีย และแอมโมเนียม มีผลตกค้างท าให้ดินเป็นกรด (อ านาจ, 2551) หรือปุ๋ยแคลเซียม
                   ไนเตรทที่มีผลตกค้างท าให้ดินเป็นด่าง (ยงยุทธ และคณะ, 2551) ดังนั้นในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ
                   และชีวภาพของดินให้ดีขึ้นจ าเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น น้ าหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เนื่องจาก

                   สามารถปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและชีวภาพได้ดี และสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ให้กับดินได้ ในการ
                   ใช้ปุ๋ยเคมีควรทราบด้วยว่าธาตุไนโตรเจนอยู่ในรูปของไนเตรท หรือรูปของแอมโมเนียม  ถ้าไนโตรเจนอยู่ใน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22