Page 14 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3



                   ชายฝั่งตะวันออก จังหวัดพัทลุงก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในบริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออกเช่นกัน จังหวัด
                   พัทลุง มีเนื้อที่ทั้งหมด 3,424 ตารางกิโลเมตร หรือ  2,140,296 ไร่  เป็นพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร
                   1,327,270 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 62 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด รายได้ส่วนใหญ่ของจังหวัดมาจากผลผลิตด้าน

                   การเกษตร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 16,819 ล้านบาท ผลผลิตที่ส าคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว ผัก และ
                   ผลไม้ เป็นต้น จังหวัดพัทลุง  (ส านักงานสถิติจังหวัดพัทลุง, 2558) แต่ในช่วงที่ผ่านมาพื้นที่ท านาเริ่มลด
                   น้อยลง เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ ามันค่อนข้างสูง จูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูก
                   ยางพาราและปาล์มน้ ามันมากขึ้น ดังตารางที่ 1


                    ตารางที่ 1  พื้นที่เพาะปลูกข้าว จังหวัดพัทลุง ปี พ.ศ. 2553-2560

                                                    พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)
                             ปี                                                            รวม
                                                ข้าวนาปี           ข้าวนาปรัง

                           2553              254,925.70           104,477.00           359,402.70
                           2554              231,266.70           103,514.05           334,780.75
                           2555              202,157.75           112,905.25           315,063.00

                           2556              145,051.00            74,077.00           219,128.00
                           2557              141,202.00            67,551.00           208,753.00
                           2558              136,538.00            54,505.00           191,043.00
                           2559              131,716.00            43,045.00           174,761.00

                           2560              128,984.00            57,295.00           186,279.00

                   ที่มา: ส านักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง (2560)

                            ข้าวเป็นพืชที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์ของดินสูงถึงปานกลางและสามารถอุ้มน้ าได้ดีดิน จึงเป็น
                   ปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อปริมาณและผลผลิตของข้าว ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชต้องมี
                   สัดส่วนดังกล่าว คือ อนินทรียสาร (หินและแร่ธาตุ) 45 เปอร์เซ็นต์  น้ าและอากาศ อย่างละ 25 เปอร์เซ็นต์

                   และอินทรียวัตถุ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยอินทรียวัตถุเป็นส่วนประกอบที่มีความส าคัญอย่างยิ่งเนื่องจากมี
                   คุณสมบัติในการควบคุมคุณสมบัติทางกายภาพ ชีวภาพและเคมีของดิน อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและ
                   พลังงานให้กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน (วรรณลดา, 2543)

                            พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง  เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสง หรือช่วงระยะกลางวันสั้น  เพื่อเปลี่ยน
                   การเจริญเติบโตทางล าต้นและใบมาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์  เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้
                   จะก าเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12  ชั่วโมง  ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน
                   ท าให้ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงมีต้นสูง มีการแตกกอน้อย การตอบสนองต่อปุ๋ย
                   โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต่ า ให้ผลผลิตสูงสุดได้ต่ า และมีการต้านทานต่อโรคและแมลงน้อย (อรพิน, 2547)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19