Page 21 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         10



                   หลักและธาตุอาหารรองในน้ าหมักชีวภาพจากปลา มีปริมาณไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม
                   แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน โดยเฉลี่ย 0.98, 1.12, 1.03, 1.66, 0.24 และ 0.20 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ
                   โดยน้ าหมักชีวภาพจากปลา มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม มากกว่าน้ าหมัก

                   ชีวภาพชนิดอื่น (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                   การใช้ประโยชน์น้ าหมักชีวภาพในการท าการเกษตร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553) ดังนี้
                          1. ข้าว

                            - แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว ใช้น้ าหมักชีวภาพ 20 มิลลิลิตร ผสมน้ า  20 ลิตร แช่เมล็ดข้าว 20 กิโลกรัม
                   เป็นเวลา 12 ชั่วโมง แล้วน าขึ้นมาพัก 1 วัน จึงน าไปปลูก เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด

                            - ช่วงการเตรียมดิน โดยใช้น้ าหมักชีวภาพ 5 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นหรือรดลงดินระหว่างเตรียมดิน
                   หรือก่อนไถกลบตอซัง เพื่อช่วยย่อยสลายเศษซากพืชระหว่างการเตรียมดิน

                            - ช่วงการเจริญเติบโต โดยใช้น้ าหมักชีวภาพ 5 ลิตรต่อไร่ เมื่อข้าวอายุ 30 50 และ 60 วัน ฉีด
                   พ่นหรือเทลงในนาข้าว เพื่อช่วยกระตุ้นการยืดตัว และการแตกกอของต้นข้าว เนื่องจากในน้ าหมักชีวภาพมี
                   สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช (Hormone) เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน

                          2. พืชไร่
                             - ช่วงการเจริญเติบโต โดยใช้น้ าหมักชีวภาพ 1  ลิตรบอกเป็นหน่วยวัดเมตรตริก ผสมน้ า 500

                   ลิตร ในพื้นที่ 5 ไร่ ฉีดพ่นหรือรดลงดินทุก 10 วัน ก่อนออกดอก และช่วงติดผล เนื่องจากในน้ าหมักชีวภาพ
                   มีสารเร่งการเจริญเติบโต ท าให้พืชเจริญเติบโต และติดผลได้ดีขึ้น

                             - แช่ท่อนพันธุ์อ้อยและมันส าปะหลัง โดยใช้น้ าหมักชีวภาพ 40 มิลลิลิตร ผสมน้ า 20  ลิตร แช่
                   ท่อนพันธุ์อ้อยหรือมันส าปะหลังเป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการแตกตาของท่อนพันธุ์อ้อย

                             - พืชผักและไม้ดอก โดยใช้น้ าหมักชีวภาพ 1 ลิตร ผสมน้ า 1,000  ลิตร ในพื้นที่ 10 ไร่ ฉีดพ่น
                   หรือรดลงดินทุก 10 วัน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักและไม้ดอก
                            - ไม้ผล โดยใช้น้ าหมักชีวภาพ 1 ลิตร  ผสมน้ า 500 ลิตร  ในพื้นที่ 20 ไร่ ฉีดพ่นหรือรดลงดิน

                   ทุก 1 เดือน ช่วงก าลังเจริญเติบโต ก่อนออกดอก และช่วงติดผล น้ าหมักชีวภาพจะช่วยให้มีการเจริญเติบโต
                   เร่งการออกดอก และติดผลดีขึ้น

                            ก าชัย (2550) ทดลองใช้ปุ๋ยพืชสดโสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ า ในการปลูกข้าวพันธุ์ กข.6
                   กลุ่มชุดดินที่ 5 ชุดดินหางดง พบว่า การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ าอัตรา 15 และ 25 ลิตรต่อไร่
                   ให้ผลผลิตข้าวสูงที่สุด 851.1 และ 988.6 กิโลกรัมต่อไร่ ในปีที่ 1 และ ปีที่ 2 ตามล าดับ และพบว่า การใช้
                   โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ า อัตรา 15 และ 25 ลิตรต่อไร่ สามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา  6
                   กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ 6  กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อไร่  (6-6-0) และอัตรา 8  กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ 8
                   กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อไร่  (8-8-0) ได้ทั้ง 2 ปี และพบว่าในปีที่ 1 การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ า

                   อัตรา 15 ลิตรต่อไร่ ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด 2,003.32 บาทต่อไร่
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26