Page 19 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรของกรมพัฒนาที่ดินมี 5 สูตร มีปริมาณธาตุไนโตรเจน
3-4 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 5-9 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม 1-2 เปอร์เซ็นต์ โดยน าวัตถุดิบที่มีปริมาณ
ธาตุอาหารสูงมาใช้ในการผลิต คือกากถั่วเหลือง ร าข้าว มูลสัตว์ หินฟอสเฟต กระดูกป่นและมูลค้างคาว
ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกผลิตได้ตามปริมาณและชนิดของวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพ
ทางดิน, 2551) จากผลการทดลองของทวีศักดิ์ (2551) ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่
ร่วมกับการไถกลบตอซัง ร่วมกับปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยดได้สูงสุด 384.8
กิโลกรัมต่อไร่ และจากรายงานของอุษา และคณะ (2552) ศึกษาโครงการสาธิตทดสอบการผลิตข้าวอินทรีย์
โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน โดยใช้ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ในกลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดินพัทลุง
พบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าวสูงสุด
เท่ากับ 775 กิโลกรัมต่อไร่ จากการทดลองของธษพร และคณะ (2557) พบว่าการปลูกปุ๋ยพืชสด โสนอัฟริกัน
แล้วไถกลบร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงท าให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น และการลดปุ๋ยเคมี
ลงครึ่งหนึ่งของอัตราแนะน าร่วมกับการปลูกแล้วไถกลบปุ๋ยพืชสดโสนอัฟริกัน น้ าหมักชีวภาพและปุ๋ย
อินทรีย์คุณภาพสูงให้ผลผลิตข้าวสังข์หยดสูงที่สุด 335.10 กิโลกรัมต่อไร่ สุวรรณภา และคณะ (2556)
ศึกษาการจัดการดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดินตามโปรแกรมค าแนะน าการจัดการดิน
และปุ๋ยรายแปลงเพื่อการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อย่างยั่งยืน ในกลุ่มชุดดินที่ 17 ชุดดินเรณู จังหวัด
อ านาจเจริญ พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียวให้ผลผลิตไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมี
ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอย่างละครึ่งอัตรา แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียวมีต้นทุนผัน
แปรสูงกว่า ท าให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอย่างละครึ่งอัตรา
6. ปุ๋ยชีวภาพ พด.12
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็น
ประโยชน์กับพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 4 ชนิด คือจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจน จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหาร
ฟอสฟอรัส จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารโพแทสเซียม และจุลินทรีย์ที่สร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือ
ฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนที่แบคทีเรียสร้างได้แก่ ออกซิน จิบเบอเรลลินและไซโตไคนิน ช่วยกระตุ้นการ
เจริญเติบโตของรากอ่อนและช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวราก ท าให้ความสามารถในการดูดน้ าและธาตุอาหารเพิ่ม
มากขึ้น (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551) จากการทดลองของนวลจันทร์ และฎานุภา (2556) ได้ศึกษา
อัตราและระยะเวลาการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของมัน
ส าปะหลัง พบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และถั่วพร้าท าให้ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น และการลด
การใช้ปุ๋ยเคมีลง 40 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ท าให้ผลผลิตมันส าปะหลังสูงกว่าการ
ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ และจากการทดลองของ พัฒน์พงษ์ และคณะ (2556)
พบว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มีแนวโน้มท าให้ค่าเฉลี่ยจ านวนต้น จ านวนรวง และเมล็ดต่อรวงของ
ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ในชุดดินอุตรดิตถ์ มากกว่าต ารับที่ไม่ใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12