Page 22 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         11



                   9. การไถกลบตอซัง
                          การไถกลบตอซัง  หมายถึง  การน าเศษพืชหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ได้หลังจากการเก็บ
                   เกี่ยวผลผลิต โดยไถลงดินในระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อย

                   สลายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  แล้วจึงด าเนินการปลูกพืชต่อไป  การไถกลบวัสดุเศษพืช  มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
                   เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน  และปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงทดแทนธาตุอาหาร
                   บางส่วนที่พืชน าไปใช้และติดไปกับผลผลิตทางการเกษตร
                          การท าการเกษตรที่มีการเผาวัสดุหรือตอซังพืช  เพื่อที่จะก าจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชในดินนั้น

                   จะก่อให้เกิดผลเสียหายเป็นอย่างมาก  เนื่องจากความร้อนจากการเผาวัสดุจะแผ่ไปทั่วผิวดินท าให้ดินมี
                   อุณหภูมิสูง  และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ เคมี  ชีวภาพของดิน  กล่าวคือ
                          1. โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป  โดยท าให้อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็ง  มีผลต่อ

                   ความหนาแน่นของดินเพิ่มขึ้น  และการชอนไชของรากพืชในดินเป็นไปได้ยาก
                          2. เกิดการสูญเสียของธาตุอาหารและโดยที่ธาตุคาร์บอนในดินจะแปรสภาพกลายเป็น
                   คาร์บอนไดออกไซด์ระเหยออกไปสู่อากาศ และพบว่าในตอซังข้าวโพดจะมีธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัสและ
                   โพแทสเซียม  4.5, 0.67, และ  9.50  กิโลกรัมต่อไร่ตามล าดับ  จากการศึกษาการใช้ตอซังข้าวโพดฝักอ่อน
                   เพื่อปรับปรุงดิน  พบว่ามีปริมาณการสะสมธาตุอาหารในส่วนของล าต้น และเมื่อมีการเผาตอซังพืชก็จะท า

                   ให้ธาตุอาหารเหล่านั้นสูญเสียไปด้วย
                          3. จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินถูกท าลายไป  ท าให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ลดลง  เช่น การตรึง
                   ไนโตรเจนจากพืชตระกูลถั่ว

                          4. เกิดการสูญเสียน้ าในดินจากการเผาตอซัง  ท าให้ผิวหน้าดินมีอุณหภูมิสูงมากถึง  95 องศา
                   เซลเซียส ท าให้ปริมาณน้ าในดินระเหยออกสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน,
                   2551)  จากการทดลองของส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 (2557) พบว่าการไถกลบพืชปุ๋ยสดร่วมกับการใส่
                   น้ าหมักชีวภาพ พด.2   และใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของอัตราค าแนะน าผลวิเคราะห์ดิน ท าให้ความสูงและการ

                   แตกกอของข้าวพันธุ์ปทุมธานี (กข.31)  ในดินร่วนปนดินเหนียว สูงกว่าวิธีการอื่น

                   10. ดินกรด
                          ดินกรด เป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินต่ ากว่า 7 แต่ดินกรดที่เป็นปัญหาทาง
                   การเกษตร คือดินกรดที่มีค่า (pH) ของดินต่ ากว่า 5.5 ซึ่งเป็นข้อจ ากัดด้านความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร
                   พืช การเกิดดินกรดมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เกิดจากธรรมชาติจากวัตถุต้นก าเนิดดินที่เป็นกรด เกิด
                   การชะละลายธาตุที่เป็นด่างออกไปจากดินโดยน้ าฝนหรือน้ าชลประทาน พืชดูดเอาธาตุที่เป็นด่างออกไป

                   แล้วปลดปล่อยกรดลงไปแทนที่ การใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีต่างๆ ที่มีสารก ามะถันเป็นองค์ประกอบ และ
                   เกิดจากฝนกรดบริเวณใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ปัญหาของดินกรด คือ ขาดธาตุอาหารพืชที่เป็น
                   ประโยชน์ในดิน เช่น ฟอสฟอรัสถูกตรึงท าให้พืชดูดไปใช้ไม่ได้ และมีธาตุบางธาตุ ได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็ก

                   และแมงกานีส ละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก เกิดผลกระทบคือ ขาดธาตุอาหารที่เป็น
                   ประโยชน์ท าให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ระบบรากพืชถูกท าลายเพราะอะลูมิเนียม และเหล็กละลาย
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27