Page 15 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
3.1 ข้าวสังข์หยด
ข้าวสังข์หยด เป็นข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ มีลักษณะของข้าวสารหรือข้าวกล้องที่เยื่อหุ้มเมล็ดมี
สีขาวปนแดงจางๆ จนถึงแดงเข้มในเมล็ดเดียวกัน ความยาวเมล็ดข้าวกล้อง 6.70 มิลลิเมตร ข้าวซ้อมมือมีสี
แดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้วบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น รูปร่าง
เมล็ดเรียว และเมื่อหุงสุกแล้วข้าวมีลักษณะนิ่มมากค่อนข้างเหนียว ข้าวหุงสุกนุ่ม เป็นข้าวที่มีความคงตัว
ของแป้งสุกอ่อน เป็นพันธุ์ข้าวนาสวน ปลูกนาปี ไวต่อช่วงแสง วันออกดอกประมาณ วันที่ 8 ถึง 15 มกราคม
เมื่อตกกล้าประมาณเดือนสิงหาคม จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ความสูงเฉลี่ย 140 เซนติเมตร
ทรงกอตั้ง แตกกอเฉลี่ย 8 ต้นต่อกอ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง, 2547) ความ
แตกต่างของข้าวสังข์หยดที่ท าให้แตกต่างจากข้าวทั่วไป คือ ข้าวสังข์หยดเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในจังหวัดพัทลุง
มานานกว่า 100 ปี เป็นข้าวพื้นเมืองเพียงพันธุ์เดียวในจังหวัดพัทลุงที่เป็นข้าวที่มีความนุ่ม มีปริมาณอมิโลส
ประมาณ 14-15 เปอร์เซ็นต์ มีคุณค่าทางโภชนาการที่โดดเด่น คือมีปริมาณธาตุเหล็ก และไนอาซีนสูง เป็น
ข้าวเจ้าพันธุ์เดียวในบรรดาข้าวเจ้าพื้นเมืองที่ปลูกในภาคใต้ ที่มีสีของเมล็ดข้าวกล้องเป็นสีแดง ข้าวสารมีสี
ชมพูและขาว นับเป็นข้าวที่มีสีสวยน่ารับประทาน (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 ลักษณะข้าวสังข์หยด
ชาวเมืองพัทลุงจะปลูกข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง เล็บนก เข็มทอง ซึ่งเป็นข้าวแข็งไว้บริโภค ส่วนข้าว
สังข์หยดนั้นในอดีตจะปลูกไว้ไม่มาก แต่ทุกบ้านจะปลูกเก็บไว้เป็นข้าวส าหรับเทศกาลพิเศษ หรือมีแขกมา
เยี่ยมเยียน เมื่อหุงข้าวจะนุ่ม มีกลิ่นหอมบางๆ เป็นที่นิยมของคนในเมืองจนถึงกรุงเทพมหานคร ความ
ต้องการข้าวที่มีสีเพื่อใช้ในอาหารชีวจิต ท าให้ความต้องการข้าวสารสังข์หยดพุ่งมาที่เมืองพัทลุง ในปัจจุบัน
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงจึงเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพัทลุง และเกษตรกรนิยมปลูกกัน สะท้อนให้
เห็นถึงความผูกพันธุ์กับพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินผืนน้ าเมืองพัทลุง สานสัมพันธ์จากดินและ
น้ าสู่เมล็ดข้าวสีแดงที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อ