Page 13 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2



                                                      การตรวจเอกสาร

                   1. กลุ่มชุดดินที่ 6
                          กลุ่มชุดดินที่ 6  มีลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทา  ดินล่างมีสีน้ าตาลปนเทาหรือสีเทา
                   มีจุดประสีน้ าตาลหรือสีเหลืองและสีแดงตลอดชั้นดิน บางแห่งมีศิลาแลงอ่อน (Plinthite) หรือก้อน

                   สารเคมีพวกเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ด้วย  เป็นดินลึกมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดแก่ (pH
                   4.5-5.5)  ดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับต่ าถึงค่อนข้างต่ า ตัวอย่างชุดดินได้แก่ ชุดดินบางนรา  พัทลุง
                   มโนรมย์  เชียงราย นครพนม ปากท่อ แกลง  สุไหงโกลก ท่าศาลา คลองขุด สตูล และวังตง เนื่องจากดิน

                   ในกลุ่มชุดดินที่ 6 มีอินทรียวัตถุระดับปานกลาง ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยน
                   ได้ต่ า  ดังนั้นเพื่อให้ข้าวได้รับธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมอย่างเพียงพอ จึงควรใช้ปุ๋ยเคมี
                   อย่างเหมาะสม โดยค าแนะน าส าหรับข้าวไวต่อช่วงแสง อัตราธาตุอาหารที่ควรใส่ คือ 6 กิโลกรัมไนโตรเจน
                   ต่อไร่  6 กิโลกรัมฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อไร่  6 กิโลกรัมโพแทสเซียมที่ละลายน้ าได้ต่อไร่ คิดเป็น

                   น้ าหนักแม่ปุ๋ยแล้วแบ่งใส่  2 ครั้ง ส าหรับนาด า ดังนี้ ครั้งที่ 1 ใส่ในช่วงปักด า โดยใช้สูตร 16-20-0 หรือปุ๋ย
                   สูตรใกล้เคียง อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ และครั้งที่ 2  ใส่ใน
                   ระยะที่ข้าวก าเนิดช่อดอก โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)

                   2. ชุดดินแกลง
                            ชุดดินแกลง (Klaeng series : Kl) เป็นดินในกลุ่มชุดดินที่ 6 มีลักษณะดินเป็นดินเหนียวละเอียด
                   ลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีสีน้ าตาลปน

                   เหลือง สีน้ าตาลปนเทาหรือสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างมีเนื้อ
                   ดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง มีสีเทาและในดินบนมีจุดประสีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปน
                   เหลือง ส่วนในดินล่างจะมีจุดประสีน้ าตาลปนเหลืองหรือสีแดงปนเหลืองและมีศิลาแลงอ่อน (plinthite)

                   มากกว่า 50  เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรหรือพบต่อเนื่องกันภายในความลึก 150 เซนติเมตร จากผิวดิน
                   ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ชุดดินแกลงมีความเหมาะสมดีส าหรับปลูกข้าว
                   แต่มีข้อจ ากัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีปริมาณอินทรียวัตถุระดับต่ า ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
                   ต่ า โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ต่ า ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ า
                   พด.2 (ส านักส ารวจและวิจัยทรัพยากรดิน, 2557)


                   3. ข้าว
                            ข้าวเป็นพืชหลักและเป็นอาชีพที่ส าคัญของเกษตรกรไทย ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าว
                   ประมาณ 64 ล้านไร่ ในปี 2556 การผลิตข้าวของโลกมีประมาณ 464.31 ล้านตัน (ข้าวสาร) โดย
                   ประเทศไทยผลิตได้ 20.50 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับ 6 ของโลก รองจากประเทศจีน อินเดีย
                   อินโดนีเซีย บังคลาเทศและเวียดนาม ผลผลิตที่ได้เพื่อการบริโภคภายในประเทศมากกว่าการส่งออก

                   อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวสาร มากเป็นอันดับ 3 ของโลก มีปริมาณการ
                   ส่งออกประมาณ 6.70 ล้านตัน รองจากประเทศอินเดียและประเทศเวียดนาม  ซึ่งมีปริมาณการส่งออก
                   10.50 ล้านตัน และ 7.20 ล้านตัน ตามล าดับ  พื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่ของภาคใต้จะอยู่บริเวณที่ราบ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18