Page 20 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         9



                   7. ปุ๋ยพืชสด
                            ปุ๋ยพืชสด  เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการตัดสับ หรือไถกลบพืชในช่วงที่พืชออกดอก
                   เพราะจะมีน้ าหนักสดและปริมาณธาตุอาหารสูง โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงบ ารุงดิน ให้มีความอุดม

                   สมบูรณ์  พืชปุ๋ยสดที่นิยมปลูกทั่วไปจะเป็นพืชตระกูลถั่ว เนื่องจากพืชตระกูลถั่วจะเป็นที่อยู่อาศัยของ
                   แบคทีเรียชนิดหนึ่ง คือไรโซเบียม ซึ่งจะตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ปุ๋ยพืช
                   สดที่นิยมใช้ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2550) การใช้ปุ๋ยพืชสดมีผล
                   ต่อดิน 2 ประการ คือเป็นแหล่งไนโตรเจนของพืชและการสะสมอินทรียวัตถุในดิน ปุ๋ยพืชสดที่ย่อยสลายเร็ว

                   จะปลดปล่อยไนโตรเจนได้รวดเร็ว และเป็นประโยชน์มากต่อพืชแรกที่ปลูกตามในระยะเวลาสั้นๆ ถ้า
                   เป็นพืชที่ย่อยสลายช้าก็จะปลดปล่อยไนโตรเจนให้แก่พืชแรกที่ปลูกในปริมาณน้อยแต่จะมีการสะสม
                   อินทรียวัตถุและเป็นแหล่งไนโตรเจนแก่พืชที่จะปลูกในระยะยาว (Bouldin,1987)

                          7.1 ปอเทือง
                               ปอเทือง (Sunn  hemp)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria  juncea  เป็นพืชตระกูลถั่วสามารถ

                   เจริญเติบโตได้ในพื้นที่แห้งแล้ง  และสามารถให้ปริมาณมวลชีวภาพ  ในด้านการปรับปรุงดิน สามารถปลูก
                   ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดได้ดี โดยมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม
                   และก ามะถัน โดยเฉลี่ย 2.76, 0.22,  2.40, 1.53, 2.04 และ 0.96 เปอร์เซ็นต์ตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน,

                   2549) ปอเทือง นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในสภาพพื้นที่ดอนไม่มีน้ าขังทนแล้งไม่ทนเค็ม แต่ก็สามารถปลูก
                   ในนาข้าวที่ลุ่มได้ โดยปลูกในรูปแบบของการปลูกพืชหมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ดก่อนการปลูก
                   พืชหลักอย่างน้อย 2.0-2.5 เดือน แล้วไถกลบที่อายุประมาณ 50-60 วัน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นและ
                   ทิ้งไว้ 7-10 วัน ก่อนปลูกพืชหลัก ปอเทืองให้น้ าหนักสดประมาณ 1.5-3.0 ตันต่อไร่ ให้ธาตุไนโตรเจน

                   ประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับปุ๋ยยูเรียและแอมโมเนียมซัลเฟต ได้ประมาณ 23-48 และ
                   47-95 กิโลกรัม หรือมีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ประมาณ 2.00-2.95  0.30-0.40
                   และ 2.20-3.00  ตามล าดับ แต่อย่างไรก็ตามน้ าหนักมวลชีวภาพและปริมาณธาตุอาหารขึ้นกับปัจจัยของดิน
                   และการจัดการด้วย (กองแผนงาน, 2546) จากรายงานวิจัยของสมพร (2553) พบว่าการใช้ถั่วพุ่มที่อัตรา

                   มวลชีวภาพ 1,000 กิโลกรัมน้ าหนักแห้งต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าวสังข์หยดพัทลุงในกลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดิน
                   พัทลุง ได้สูงกว่าการใช้ถั่วพุ่มที่อัตราชีวภาพ 500 กิโลกรัมน้ าหนักแห้งต่อไร่ ขณะที่การใช้ถั่วพุ่มที่อัตรา
                   มวลชีวภาพ 1,000 กิโลกรัมน้ าหนักแห้งต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟตเป็นปุ๋ยรองพื้น
                   สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวสูงที่สุดคือ  มีค่าเฉลี่ยประมาณ  400.1  กิโลกรัมต่อไร่


                   8. น้้าหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2
                            เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวประกอบด้วยกรดอินทรีย์และฮอร์โมน หรือสารเสริมการ
                   เจริญเติบโตของพืชหลายชนิด ผลิตได้จากการสกัดและการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์  ซึ่งมี
                   ลักษณะเปียกหรือมีความชื้นสูงเป็นของเหลวออกมา โดยเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มี
                   ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่  มีฮอร์โมน กรดอินทรีย์หลายชนิด ช่วยในการเร่งการเจริญเติบโตของราก เพิ่มการ
                   ขยายตัวของใบ ส่งเสริมการออกดอกและติดผล (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2549) ปริมาณธาตุอาหาร
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25