Page 23 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
ออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช หรือเกิดการระบาดของโรคที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินกรด แนวทางการ
แก้ไขดินกรด เช่น ใช้วัสดุปูนทางการเกษตรลดความเป็นกรดของดิน การใส่อินทรียวัตถุ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ย
คอก พืชปุ๋ยสด ช่วยลดความเป็นกรดของดิน การเพิ่มธาตุอาหารด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยคอก น้ าหมักชีวภาพ การคลุมดิน การเลือกปลูกชนิดพืชที่ชอบดินกรด โดยค าแนะน าทั่วไปส าหรับนาข้าว
กรณีดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 5.1-5.5 ควรจัดการดินโดยใส่โดไมท์ อัตรา 100-200 กิโลกรัม
ต่อไร่ ไถคลุกเคล้ากับดินหมักไว้อย่างน้อย 7 วัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) การใช้วัสดุปูนปรับสภาพดินควร
ได้จากการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์และใช้ตามความต้องการของปูนจึงจะแก้ความเป็นกรดของดินได้
10. โปรแกรมค้าแนะน้าการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง
อัธยะ และสมพร (2554) โปรแกรมค าแนะน าการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงเป็นโปรแกรมของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการน าผลงานวิจัยทางด้านการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
ผสมผสานการจัดการดินตามสมบัติดินสู่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ในการส่งเสริมการจัดการดินและปุ๋ย
อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ลักษณะการใช้งานมีความยุ่งยากและเรียบง่ายแตกต่างกันไปตาม
กลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลสารสนเทศก็จะมีความละเอียดและซับซ้อนมากน้อยไปตามลักษณะการใช้งาน
ของโปรแกรม อย่างไรก็ตาม โปรแกรมนี้ยังไม่ได้บรรจุข้อมูลที่สมบูรณ์ เพราะความจ าเพาะในสมบัติดินแต่
ละชุดดิน กลุ่มชุดดิน ยังมีอยู่มาก และงานวิจัยทางด้านการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเอง ยังไม่ได้
ครอบคลุมไปถึงดินทุกชนิดทุกประเภท โดยได้อธิบายรายละเอียดไว้ว่า โปรแกรมค าแนะน าการจัดการดิน
และปุ๋ยรายแปลง เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาให้เป็นโปรแกรมสารสนเทศหลักในการรวบรวมข้อมูลด้านการ
จัดการดินและปุ๋ย โปรแกรมปุ๋ยรายแปลงไม่ได้เป็นงานวิจัย แต่เป็นงานที่รวบรวมผลงานวิจัยจากแหล่ง
ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันและพัฒนาเป็นระบบเรียกใช้ข้อมูลตามเงื่อนไขที่เหมาะสมกับพื้นที่
เกษตรกรรมในแต่ละแปลง ซึ่งข้อมูลที่จะถูกน ามาแสดงนั้น อาจจะมีความซ้ าซ้อนกันได้ เมื่อมีเงื่อนไข
พื้นฐานอันเดียวกัน เช่น ดินเดียวกัน พืชเดียวกัน แต่หากมีเงื่อนไขจ าเพาะบางอย่าง ก็จะท าให้ข้อมูลที่
สอดคล้องที่สุดถูกน ามาแสดงผล ดังนั้น เรื่องของการอ้างอิง จึงเป็นสิ่งส าคัญยิ่งที่จะต้องมีอยู่ในโปรแกรม
กล่าวคือ ค าแนะน านั้นๆ เป็นค าแนะน าจากผลงานวิจัยของใคร อย่างไร เมื่อไหร่ ต้องพร้อมแสดง ให้เห็น
อยู่ในโปรแกรมอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากผลงานวิจัยนั้นโดยตรงหากต้องการ