Page 12 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                     หลักการและเหตุผล

                            จังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ส าคัญของภาคใต้ สามารถปลูกและผลิตข้าวได้มากเป็น
                   อันดับที่ 3 รองจากจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา (ส านักงานสถิติจังหวัดพัทลุง,  2558) จังหวัด
                   พัทลุงมีพื้นที่ดินนาที่สามารถปลูกข้าวได้ จ านวน 684,432 ไร่ เป็นพื้นที่กลุ่มชุดดินที่ 6 จ านวน 180,737

                   ไร่ คิดเป็น  26.41 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ดินนาในจังหวัดพัทลุง (ส านักส ารวจและวิจัยทรัพยากรดิน, 2553)
                   แต่มีแนวโน้มของพื้นที่ปลูกข้าวในปี 2553  จ านวน 359,402.70  ไร่ และคงเหลือในปี 2557  จ านวน
                   208,753 ไร่ (ลดลง 41.92 เปอร์เซ็นต์) (ส านักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง, 2560) ปัญหาที่ท าให้พื้นที่นาข้าว

                   และจ านวนผลผลิตของข้าวเริ่มลดลงเพราะเกษตรกรประสบปัญหาในเรื่องการจัดการดิน เนื่องจากดินใน
                   กลุ่มชุดดินที่ 6 มีลักษณะดินเป็นดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.5)  ดินมี
                   ความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับต่ าถึงค่อนข้างต่ า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)  เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการใส่
                   ปุ๋ยเคมีในนาข้าวในอัตราที่เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้มีการปรับปรุงบ ารุงดิน ส่งผลให้ผลผลิตต่ าและต้นทุนการ

                   ผลิตสูง
                            ข้าวสังข์หยด เป็นข้าวพื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง มีการปลูกและเป็นที่นิยมมานาน เป็นข้าวไวต่อ
                   ช่วงแสง ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี  มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะส าหรับผู้นิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
                   และได้รับการรับรองให้เป็นสินค้าข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) สินค้าแรกของ

                   ไทย (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง, 2549) จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดในปี 2556/57 จ านวน 11,245.25
                   ไร่ และปี 2559/60  จ านวน 19,142 ไร่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความสนใจปลูกมากขึ้น เนื่องจาก
                   ข้าวสังข์หยดขายได้ราคาสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจ านวนพื้นที่ปลูกข้าวนาปีในปี 2559/60 จ านวน
                   131,716 ไร่ (ส านักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง, 2560) พบว่าเกษตรกรปลูกข้าวสังข์หยดเพียงร้อยละ 14.53

                   ของพื้นที่นาปี  ดังนั้นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบชนิดของปุ๋ยที่เหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวสังข์หยด โดย
                   วิธีการใช้ปุ๋ยต่างๆ คือ การใช้ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร การใช้ปุ๋ยเคมีตามค าแนะน าจากโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง
                   และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 น้ าหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2

                   และปุ๋ยพืชสด น่าจะเป็นแนวทางในการจัดการดินส าหรับการปลูกข้าวสังข์หยด ในกลุ่มชุดดินที่ 6 ที่สามารถ
                   ขยายผลการศึกษาไปสู่เกษตรกรที่ปลูกข้าวสังข์หยดในจังหวัดพัทลุง เพื่อช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรที่ใช้
                   ปุ๋ยเคมี โดยไม่ท าให้ผลผลิตของข้าวลดลง เป็นแนวทางให้แก่เกษตรกรในการท านาข้าวสังข์หยดอินทรีย์
                   ทั้งยังเป็นการเพิ่มความสนใจให้แก่เกษตรกรท านาปีซึ่งปลูกข้าวพันธุ์อื่นมาปลูกข้าวสังข์หยด เป็นการเพิ่ม
                   พื้นที่ปลูกและเพิ่มปริมาณผลผลิต “ข้าวสังข์หยด” ซึ่งเป็นข้าว GI พันธุ์แรกของไทยและยังสามารถอนุรักษ์
                   พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงให้คงอยู่ต่อไปได้ยั่งยืนอีกด้วย



                                                        วัตถุประสงค์

                          1. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการใช้ปุ๋ยต่างๆ
                          2. ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวสังข์หยด เมื่อมีการใช้ปุ๋ยต่างๆ ในกลุ่มชุดดินที่ 6
                          3. ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวสังข์หยด เมื่อมีการใช้ปุ๋ยต่างๆ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17