Page 43 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       29







                       เลือกใช้ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม  เลือกระบบการปลูกพืชที่มีระบบรากลึกสลับกับพืชที่มีระบบ
                       รากตื้น เพื่อเป็นการน่าเอาอาหารที่ถูกชะล้างละลายลงในดินล่างมาใช้ การปลูกพืชหมุนเวียนชนิด
                       ต่างๆ สลับกับพืชตะกูลถั่ว และการปลูกหญ้าแฝกล้อมรอบไม้ผล เพื่อดักเก็บตะกอนและรักษา
                       ความชื้นในดินบริเวณรอบๆ ต้นไม้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2547)


                       3.5 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินในระบบเกษตรอินทรีย์
                              3.5.1 การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
                              ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการน่าซากหรือเศษเหลือจากพืชมาหมักรวมกัน

                       และผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะ
                       อ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกระด้าง และมีสีน้่าตาลปนด่า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                              สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จาก
                       การเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมี

                       คุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลสและแบคทีเรียที่
                       ย่อยไขมัน มีจุดเด่นคือ เป็นจุลินทรีย์ที่ทนอุณหภูมิสูง เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสปอร์จึงเก็บรักษา
                       ผลิตภัณฑ์ได้นาน มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลส ย่อยสลายน้่ามันไขมันใน

                       วัสดุหมักที่ย่อยสลายยาก สามารผลิตปุ๋ยหมักในระยะเวลารวดเร็ว และมีคุณภาพ อีกทั้งยังสามารถ
                       ย่อยวัสดุเหลือใช้ได้หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น
                              คุณสมบัติของจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.1  คือ เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศใน
                       กระบวนการย่อยสลาย  เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส  ในช่วงค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                       ระหว่าง 6-8 และความชื้น 50-70 เปอร์เซ็นต์

                              การหมักวัสดุก่อนน่าไปใช้ ในการน่าเศษพืชหรือมูลสัตว์ชนิดต่างๆ ไปใส่ในดินโดยไม่ผ่าน
                       กระบวนการหมักก่อนนั้น มักจะพบปัญหาในเรื่องของเมล็ดวัชพืช รวมถึงจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและ
                       ไข่ของแมลงที่เป็นศัตรูพืชที่ติดปนมา อีกทั้งการน่าเศษวัสดุเหล่านั้นใส่ลงในดินโดยตรง จะเกิดความ

                       ร้อนและมีการดึงไนโตรเจนจากดินไปใช้โดยจุลินทรีย์ในระหว่างการย่อยสลาย ท่าให้ดินบริเวณนั้นขาด
                       ไนโตรเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ท่าให้พืชชะงักและแสดงอาการใบเหลืองได้
                       ดังนั้นจึงควรน่าเศษซากพืชและมูลสัตว์ไปหมักก่อน โดยความร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการ
                       ย่อยสลายและสะสมอยู่ในกองปุ๋ยหมักต่อเนื่องเป็นเวลานาน

                              ผลดีของการหมักวัสดุก่อนน่าไปใช้ คือ สามารถท่าลายเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา
                       Helaminthosporium  maydis  ที่ก่อให้เกิดโรคใบไหม้ของข้าวโพด  ท่าลายไข่พยาธิและเชื้อ
                       แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค เช่น เชื้อ Escherichia  coil  ที่ก่อให้เกิดระบาดทางเดินอาหารตายภายใน
                       15-20 นาที ที่ 60 องศาเซลเซียส ส่วน Entamoeba Histolytica ก่อให้เกิดโรค Amabiasis ตาย ที่

                       68 องศาเซลเซียส  ท่าลายไข่ของแมลงศัตรูพืช โดยท่าให้ไข่แมลงฝ่อและไม่สามารถเจริญเติบโตเป็น
                       แมลงต่อได้และยังมีผลต่อการท่าลายเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับเศษพืชได้ด้วยเช่นกัน
                              วัสดุส่าหรับผลิตปุ๋ยหมัก ประกอบด้วย วัสดุเศษพืชชนิดต่างๆ ได้แก่ วัสดุเหลือใช้ทาง
                       การเกษตร ทั้งส่วนที่เป็นต้น กิ่ง ก้าน ใบ และเปลือกจากไร่นา เช่น ฟางและตอซังข้าว ต้นข้าวโพด
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48